ประสิทธิผลโปรแกรมการบริโภคระหว่างน้ำตาลทรายและหญ้าหวานต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ธัญพิสิษฐ์ ทองสะอาด
ทวีศักดิ์ เตชะเกรียงไกร
ทิวาพร มณีรัตนศุภร

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานเป็นความผิดปกติจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในกรณีคนไข้ควบคุมอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลไม่ดีจะส่งผลนำไปสู่ภาวะโรคแทรกซ้อน แต่อย่างไรก็ตามการควบคุมการบริโภคน้ำตาลกระทำได้ยาก ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบโปรแกรมเพื่อช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีประสิทธิภาพดีขึ้นและสะดวกสำหรับผู้ป่วย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการบริโภคน้ำตาลทรายและหญ้าหวานที่มีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบ randomized control trial (RCT) อาสาสมัครเป็นผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลปักธงชัยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 102 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 34 คน คือ กลุ่มควบคุมบริโภคอาหารตามปกติ กลุ่มให้น้ำตาลทรายปริมาณ 24 กรัมต่อวัน (กลุ่มบริโภคน้ำตาลทราย) และกลุ่มบริโภคหญ้าหวาน ระยะเวลา 90 วัน ภายหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มบริโภคน้ำตาลทราย กลุ่มบริโภคหญ้าหวาน มีค่าน้ำตาลในเลือด FBS 129.35, 130.38 และระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) 6.27, 6.12 ตามลำดับ อีกทั้งทำให้ทั้งค่าน้ำตาลในเลือด FBS และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) ลดลงโดยไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และมีค่าที่ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นโปรแกรมการบริโภคน้ำตาลวันละ 24 กรัมต่อวัน และการบริโภคสารสกัดหญ้าหวานแทนน้ำตาลทรายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าโปรแกรมสำหรับอาสาสมัครที่ได้รับคำแนะนำเรื่องการบริโภคอาหารตามปกติเพียงอย่างเดียว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจนพล แก้วกิติกุล. (2566, 10 มิถุนายน). ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คลินิกหมอครอบครัวป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. [เอกสารนำเสนอ] ใน การประชุมวิชาการ “คลังปัญญาเชียงราย” สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ครั้งที่ 8, เชียงราย, ประเทศไทย.

ยุทธนา สังขวรรณ. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ดัชนีมวลกายของผู้นำหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการ คนแม่อายไร้พุง เทิดไท้องค์ราชัน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยพะเยา

วรรณี นิธิยานันท์. (2562, 24 มีนาคม). ไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่อง. https://www.thaihealth.or.th/Content/50527

สุปราณี เฟื่องฟู, จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย และนพวรรณ เปียซื่อ. (2558). ผลโปรแกรมควบคุมอาหารโดยใช้หลักอาหารแลกเปลี่ยนต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29(3), 34-49.

สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย. (2566, 5 กรกฎาคม). กรมอนามัยชี้ ความหวาน มีประโยชน์หรือโทษขึ้นอยู่กับปริมาณ. https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/050766/

สำนักงานโภชนาการ กรมอนามัย. (2562, 25 พฤษภาคม). สุขภาพที่ดี เริ่มที่อาหาร ลดหวาน มัน เค็ม เติมเต็ม ผัก ผลไม้. https://planning.anamai.moph.go.th/อาหารลดหวาน

อนัญญา คูอาริยะกุล. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(3), 51-63.

Dandan, W., Hong, H. & Cong W. (2023). Cellular and potential molecular mechanisms underlying transovarial transmission of the obligate symbiont Sulcia in cicadas. Environmental Microbiology, 25(4), 836-852. http://DOI: 10.1111/1462-2920.16310

Ji-Soo, Y., Suk-Jeong, L., Hyun-Chul, L., & Mi-Ja, K. (2007). The Effect of a Comprehensive Lifestyle Modification Program on Glycemic Control and Body Composition in Patients with Type 2 Diabetes. Asian Nursing Research, 1(2), 106-115.

Silvio, E. I., Richard, M. B., John, B. B., Michaela, D., Ele, F., Michael, N., Anne, L. P., Apostolos, T., Richard, W., & David, R. M. (2015). Management of Hyperglycemia in Type 2 Diabetes, 2015: A Patient-Centered Approach: Update to a Position Statement of the American Diabetes Association and the European Association for the Study of Diabetes. Diabetes Care, 38(1), 140-149.

Uranee, R., Kerada, K., Apiradee S., & Chutatip, V. (2013) The Effects of a Diabetic Self-management Program on Knowledge, Behavior, and Health Indexes among People with Type 2 Diabetes. Journal of Nursing Science, 31(1), 7-18.