ผลของชนิดน้ำตาลและการควบคุมคุณภาพการผลิตต่อการยอมรับขนมเจาะหู

Main Article Content

มินดา สุวรรณ
ทิพวรรณ วรรณะ
วันชัย สมบัติทอง
สุวิจักขณ์ เส้งสุข
ฐิติมาพร ศรีรักษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของน้ำตาลที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์ขนมเจาะหูโดยศึกษาชนิดน้ำตาลที่แตกต่าง 3 ชนิด ได้แก่ น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลโตนด และน้ำตาลทรายแดง พบว่าผู้ทดสอบให้คะแนนการยอมรับขนมเจาะหูสูตรน้ำตาลมะพร้าวสูงที่สุด การศึกษาระยะเวลาและอุณหภูมิในการทอดขนมเจาะหูด้วยหม้อทอดไฟฟ้า 3 สภาวะ ได้แก่ ที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 90 วินาที ที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 วินาที และที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 150 วินาที พบว่าผู้ทดสอบชิมให้คะแนนขนมเจาะหูทอดที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 วินาที ด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น กลิ่นรส เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมสูงกว่าขนมเจาะหูที่ทอดด้วยสภาวะอื่น (p≤0.05) ซึ่งมีคะแนนการยอมรับอยู่ในระดับความชอบมาก นอกจากนี้ต้นทุนที่ใช้ในการผลิตขนมเจาะหู ด้านต้นทุนวัตถุดิบทางตรงที่ใช้ในการผลิต 1.50 บาท ด้านต้นทุนค่าแรงทางตรงเท่ากับ 0.375 บาทต่อชิ้น และค่าใช้จ่ายในการผลิตขนมเจาะหูเฉลี่ยต่อวัน เท่ากับ 0.14 บาท ต่อหน่วย คิดเป็นราคาต้นทุนรวม 2.015 บาทต่อชิ้น

Article Details

How to Cite
สุวรรณ ม., วรรณะ ท., สมบัติทอง ว. ., เส้งสุข ส. ., & ศรีรักษ์ ฐ. . (2023). ผลของชนิดน้ำตาลและการควบคุมคุณภาพการผลิตต่อการยอมรับขนมเจาะหู. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 5(1), 47–58. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/1783
บท
บทความวิจัย

References

ทักษิณา อินทรมณี รัชฎา ตั้งวงค์ไชย วราภรณ์ ภูตะลุน และดนุพล เกษไธสง. (2560). ผลของสภาวะการทอดแบบน้ำมันท่วมต่อลักษณะทางกายภาพและเคมีของกล้วยน้ำว้าสุกแผ่นทอดกรอบ. รายงานอันสืบเนื่องมาจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 10 มีนาคม 2560. หน้า 558-569.

นิธิยา รัตนาปนนท์. (2553). เคมีอาหาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). โอเดียนสโตร์.

ปิยนุสร์ น้อยด้วง และนคร บรรดิจ. (2558). การใช้มอลทิทอลและซูคราโลสในการผลิตคุกกี้เนยแคลลอรี่ต่ำ, สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 4(2): 42-51.

พจนีย์ บุญนา อภิญญา มานะโรจน์ วรลักษณ์ ปัญญาธิติพงศ์ และ ศุภัคษร มาแสวง. (2565). ผลของปริมาณน้ำตาลต่อสมบัติทางกายภาพและประสาทสัมผัสการยอมรับของผู้ บริโภคของผลิตภัณฑ์ขนมผิง. Journal of Applied Research on Science and Technology (JARST). 21(2): 14-25.

พราวตา จันทโร เทพกัญญา หาญศีลวัตร และปาริสุทธิ์ เฉลิมชัยวัฒน์. (2561). ผลของอุณหภูมิ และเวลาในการทอดต่อคุณภาพของมันสำปะหลังแผ่นทอดกรอบปรุงรสปาปริก้า. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 11(1): 106-117.

วิไล รังสาดทอง. (2552). เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ศรีสุดา อาชวานันทกุล. (2559). การบัญชีเพื่อการจัดการ.ทีพีเอ็น เพรส.

สมปราชญ์ อัมมะพันธุ์. (2009). แหลงใต้ (22). Rusamilae Journal, 30(2): 63-67.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2549). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เรื่อง ขนม

เจาะหู มผช. 1241/2549.

อมรรัตน์ ถนนแก้ว และ ปาจรีย์ เรืองคล้าย. (2559). ผลของน้ำมันทอดต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของขนมลาในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 8(2): 203-218.

อรพิณ ชัยประสพ. (2548). การถนอมอาหาร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

García-Segovia, P., Urbano-Ramos, A. M., Fiszman, S., & Martínez-Monzó, J. (2016). Effects of processing conditions on the quality of vacuum fried cassava chips (Manihot esculenta Crantz). LWT-Food Science and Technology. 69: 515-521.