การวิเคราะห์การลงทุนปลูกองุ่น GAP

Authors

  • สุพจน์ สนามทอง Faculty of Economics, Kasetsart University, Thailand

Abstract

การศึกษางานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนผลตอบแทนการผลิตองุ่นของเกษตรกรที่ปลูกองุ่นตามมาตรฐาน Good Agricultural Practice (GAP) และการปลูกแบบระบบทั่วไป (Non-GAP) ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จากผลการสัมภาษณ์เกษตรกร พบว่า การปลูกแบบ GAP มีต้นทุนเริ่มแรกสูงกว่าวิธีการปลูกแบบ Non-GAP เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ภาครัฐกำหนด แต่ในด้านต้นทุนการจัดการแปลง ได้แก่ ค่าปุ๋ย ค่าฮอร์โมน ค่าผลิตภัณฑ์ทางเคมี และสารป้องกันศัตรูพืช วิธีการปลูกแบบ Non-GAP มีต้นทุนสูงกว่าแบบ GAP ซึ่งเมื่อนำต้นทุนและผลตอบแทนมาวิเคราะห์ทางการเงิน พบว่า การปลูกแบบ GAP มีค่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราส่วนผลตอบแทน และอัตราผลตอบแทนภายในโครงการสูงกว่า วิธีการปลูกองุ่นแบบ Non-GAP ในช่วง 0 ถึง 5 ปี อีกทั้งเมื่อวิเคราะห์ความอ่อนไหว ยังพบว่า การปลูกแบบ GAP ยังมีกำไรสุทธิที่สูงกว่าการปลูกแบบ Non-GAP แสดงให้เห็นว่าการปลูกแบบ GAP มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนมากกว่าการปลูกแบบ Non-GAP นอกจากนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์ทัศนคติและอุปสรรคในการปลูกแบบ GAP เพื่อศึกษาการยอมรับการปลูกองุ่นแบบ GAP ของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรที่ปลูกทั้ง 2 แบบได้ยอมรับว่าการปลูกแบบ GAP เพราะว่ากระบวนการผลิตแบบ GAP มีคุณภาพผลองุ่นที่ดีและปลอดภัยต่อผู้บริโภค

Downloads

Published

2024-05-17