การจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินน้ำมันดิบรั่วไหล กรณีศึกษาจังหวัดระยอง

Authors

  • นิธิ นิธิวัฒนเลิศ สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง; กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมาย ศึกษาสถานการณ์การจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน กรณีน้ำมันดิบรั่วไหล จากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลในทะเลที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดระยอง ในมิติการบริหารจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามกรอบการจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2550 เชื่อมโยงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่มีการรั่วไหลในทะเลและกระทบถึงชายฝั่งทะเล เพื่อแสดงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน ปัญหาที่พบ และเสนอกรอบแนวทางการจัดการที่จำเป็นในสถานการณ์ที่เร่งด่วน ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกอบด้วย ปัจจัยธรรมชาติ (คลื่น/ลม), ปัจจัยต้นกำเนิด (ตำแหน่งเกิดเหตุ), ปัจจัยทรัพยากรระงับเหตุ (ชนิด และปริมาณ), ปัจจัยการคาดการสถานการณ์ (รุนแรงมากขึ้น/น้อยลง) และปัจจัยปัญหาการจัดการ (บทบาทหน้าที่ และการตัดสินใจดำเนินการ) โดยแนวทางการจัดการภัยพิบัติสามารถปรับปรุง และวางกรอบการรับมือล่วงหน้าได้ตามแนวทางที่เสนอในแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2564-2570 ควบคู่กับการถอดบทเรียนกรณีศึกษาที่เคยเกิดขึ้น เพื่อเป้าหมายการเตรียมความพร้อมในการรับมือหากเกิดภัยจากน้ำมันดิบในอนาคต และเกิดประสิทธิภาพในการระงับเหตุได้อย่างรวดเร็ว ลดผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน สิ่งแวดล้อม ระบบเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นของประเทศ

Downloads

Published

2024-05-17