การเปรียบเทียบ พื้นที่สบฟันและพื้นที่ข้างเคียง ที่แรงกัดระดับย่อยต่างๆ

Authors

  • นวศร รักษ์ธนกิจ สาขาทันตกรรมจัดฟัน ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของพื้นที่กัดสบและพื้นที่ข้างเคียง ที่แรงกัดสบที่ระดับรอง 3 ระดับ (20-40%, 40-60%, และ 60-80% ของแรงกัดสูงสุดภายใต้การคุมด้วยอำนาจจิตใจ) ในผู้ใหญ่ที่ไม่มีการสูญเสียฟัน บันทึกการกัดสบโดยใช้เครื่องสแกนฟันในช่องปากระบบสามมิติ ควบคุมระดับแรงกัดระดับย่อยต่างๆด้วยวิธีวิชวลไบโอฟีดแบค ผ่านเครื่องวัดไฟฟ้ากล้ามเนื้อ พื้นที่กัดสบและพื้นที่ข้างเคียง จะถูกวัดในช่วงระยะการสบฟันที่ระยะ 0 ถึง 350 ไมโครเมตร โดยเพิ่มขึ้นช่วงละ 50 ไมโครเมตร ผลการศึกษาพบว่า ค่าพื้นที่กัดสบและพื้นที่ข้างเคียง จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามระดับแรงกัดย่อยที่เพิ่มขึ้น ในทุกๆ ระยะระหว่างด้านสบฟัน พื้นที่กัดสบและพื้นที่ข้างเคียงที่ช่วงแรง 20-40% พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับช่วงแรง 60-80% อย่างไรก็ตามพื้นที่กัดสบและพื้นที่ข้างเคียงที่ช่วงแรง 20-40% ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับช่วง 40-60% ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เช่นเดียวกันกับในช่วง 40-60% ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับช่วง 60-80% ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ในทุกระยะการสบฟัน ดังนั้นการบันทึกการกัดสบด้วยเครื่องสแกนในช่องปากระบบสามมิติจะแนะนำให้บันทึกด้วยแรง 40-60%

Downloads

Published

2024-05-17