แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในค่ายทหาร: กรณีศึกษาพื้นที่ค่ายสุรนารี

Authors

  • ชูศักดิ์ พนมพานทอง โรงเรียนเสนาธิการทหารบก

Keywords:

ปัจจัยภายในครอบครัว, ปัจจัยสภาพแวดล้อม, การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในค่ายทหาร

Abstract

"การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยประเภทของกำลังพล ปัจจัยภายในครอบครัว และปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในค่ายทหาร กรณีศึกษาพื้นที่ค่ายสุรนารี ผลการศึกษาพบว่า
1) ปัจจัยประเภทของกำลังพลที่แตกต่างกัน มีความเห็นต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดต่างกัน การทดสอบความแตกต่างรายคู่ พบว่า นายทหารชั้นสัญญาบัตร มีความเห็นเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด แตกต่างกับ นายทหารชั้นประทวน และ นายทหารชั้นสัญญาบัตร มีความเห็นเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหา
ยาเสพติด แตกต่างกับ ทหารกองประจำการ 2) ปัจจัยภายในครอบครัว ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.24 โดยปัจจัยด้านการเลี้ยงดูของครอบครัว มากเป็นอันดับ 1 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (¯(""X"" ) = 3.60, S.D. = 0.53) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในครอบครัว อยู่ในระดับปานกลาง (¯(""X"" ) = 2.87, S.D. = 0.48) ตามลำดับ 3) ปัจจัยสภาพแวดล้อม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.39 โดย ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ยาเสพติด มากเป็นอันดับ 1 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (¯(""X"" ) = 3.49, S.D. = 0.69) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านความร่วมมือของบุคคลกรภายในหน่วย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (¯(""X"" ) = 3.23, S.D. = 0.79) ตามลำดับ และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในครอบครัวและปัจจัยสภาพแวดล้อมกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พบว่า ปัจจัยภายในครอบครัวและปัจจัยสภาพแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ดังนั้น บุคคลากรของหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในค่ายทหาร
ควรตระหนักถึงปัจจัยสภาพแวดล้อม และพัฒนารูปแบบ/กิจกรรม เพื่อยกระดับสัมพันธภาพในครอบครัว เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด มีประสิทธิภาพมากขึ้น"

Downloads

Published

2023-07-20