กำลังแรงยึดติดของสารยึดติดยูนิเวอร์แซลต่อเนื้อฟันผุจำลอง: ผลระยะยาวของการทำเทอร์โมไซคลิง
Keywords:
เนื้อฟันผุ, แรงยึดดึงระดับจุลภาค, การวิเคราะห์แร่ธาตุAbstract
เนื้อฟันผุเป็นเนื้อฟันที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและคุณสมบัติทางกายภาพซึ่งอาจส่งผลการต่อการยึดอยู่ของวัสดุบูรณะบนเนื้อฟันดังกล่าว ดังนั้นการศึกษาในครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงยึดดึงระดับจุลภาคของสารยึดติดยูนิเวอร์แซลต่อเนื้อฟันผุจำลองด้วยเชื้อก่อโรคทางห้องปฏิบัติการและการวิเคราะห์แร่ธาตุที่บริเวณรอยต่อระหว่างชั้นเรซินและเนื้อฟันผุจำลอง โดยใช้ฟันกรามแท้ซี่ที่สามของมนุษย์มาเหนี่ยวนำให้เกิดฟันผุด้วยเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัส มิวแทนส์และแลคโตบาซิลลัส อะซิโดฟิลลัส จากนั้นบูรณะชิ้นฟันที่มีเนื้อฟันปกติและชิ้นฟันผุจากการเหนี่ยวนำด้วยเรซินคอนโพสิตร่วมกับสารยึดติดยูนิเวอร์แซลระบบเอทช์แอนด์รินส์ และทำการเทอร์โมไซคลิง 10,000 รอบ ชิ้นงานดังกล่าวถูกนำมาทดสอบกำลังแรงยึดดึงระดับจุลภาค บันทึกลักษณะการแตกหัก และวิเคราะห์แร่ธาตุด้วยวิธีสแกนเชิงเส้นตรงทั้งก่อนและหลังการทำเทอร์โมไซคลิง ผลการศึกษาพบว่าค่าแรงยึดดึงระดับจุลภาคของกลุ่มเนื้อฟันผุ (23.63± 2.61, 11.21± 2.53) ต่ำกว่าเนื้อฟันปกติ (34.15± 2.90, 25.67± 9.41) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งก่อนและหลังทำเทอร์โมไซคลิง อีกทั้งยังพบว่าการทำเทอร์โมไซคลิงส่งผลให้ค่าแรงยึดดึงระดับจุลภาคทั้งชิ้นฟันปกติและชิ้นฟันผุลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบการสูญเสียของปริมาณแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสของชิ้นฟันผุจากการเหนี่ยวนำเมื่อเปรียบเทียบกับชิ้นฟันปกติ สอดคล้องกับรูปแบบการแตกหักของชิ้นงานภายหลังการทดสอบกำลังแรงยึดดึงระดับจุลภาค ที่พบการแตกหักในชั้นเนื้อฟันมากขึ้นในกลุ่มเนื้อฟันผุทั้งก่อนและหลังเทอร์โมไซคลิง จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า เนื้อฟันผุทำให้ค่าแรงยึดดึงระดับจุลภาคของสารยึดติดยูนิเวอร์แซลต่อเนื้อฟันผุจำลองด้วยเชื้อก่อโรคทางห้องปฏิบัติการลดลง
Downloads
Published
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.