แรงจูงในในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ : กรณีศึกษา สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
Keywords:
ลักษณะทางประชากรศาสตร์, แรงจูงใจในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การAbstract
"การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ และแรงจูงใจในการทำงาน ที่มีผลกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสังกัดสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาและเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประชากรจำนวน 70 คน สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อใช้สำหรับอธิบายข้อมูล
และค่าสถิติ t-test, F-test, การใช้วิธีการเปรียบเทียบคู่ของเซฟเฟ่ หรือวิธี Least Significant Different (LSD)
และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน ได้แก่ สถานภาพสมรส ระยะเวลาในการทำงาน ประเภทบุคลากร และอัตราเงินเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) แรงจูงใจในการทำงาน ได้แก่ ความสำเร็จในการทำงาน และความมั่นคงในงานมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05"
Downloads
Published
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.