ความเหนื่อยหน่าย ความเครียดในงานที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา โรงงานพรีคาสท์คอนกรีตในจังหวัดปทุมธานี
Keywords:
ความเหนื่อยหน่าย, ความเครียด, ผลการปฏิบัติงาน, โรงงานพรีคาสท์คอนกรีตAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนทฤษฎี และแนวคิด เพื่อระบุความเหนื่อยหน่ายและความเครียดที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในโรงงานพรีคาสท์คอนกรีต จังหวัดปทุมธานี เพื่อนำไปเสนอแนะแนวคิดและวิธีการในการจัดการความเหนื่อยหน่ายและความเครียดให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงสำรวจ Survey Research ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน ที่เป็นพนักงานในโรงงานพรีคาสท์คอนกรีต จังหวัดปทุมธานี โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา อันประกอบด้วยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน อันได้แก่ การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน One-Way Anova การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสมพันธ์เพียรสัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากผลการศึกษา พบว่า 1) พนักงานในโรงงานพรีคาสท์คอนกรีต จังหวัดปทุมธานี ที่มีอายุ ระดับการศึกษา สถานะทางการเงินและประสบการณ์การทำงานในบริษัทที่ทำงานปัจจุบันที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 2) ความเหนื่อยหน่ายในงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่แตกต่างกัน ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพ ปริมาณ เวลาที่ใช้และค่าใช้จ่ายในการทำงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ระดับความเครียดในงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Downloads
Published
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.