การบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนต่อการส่งเสริมการเป็นจังหวัดสะอาด: กรณีศึกษา บ้านป่าตึงงาม เทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
Keywords:
การบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน, จังหวัดสะอาด, บทบาทผู้นำ, การอภิบาลแบบร่วมมือกันหลายภาคส่วนAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขับเคลื่อนแผนการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของจังหวัดลำพูนสู่การปฏิบัติในพื้นที่ ถอดบทเรียนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านป่าตึงงามสู่การเป็นจังหวัดสะอาด และนำเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนผ่านการจัดการอภิบาลแบบร่วมมือกันหลายภาคส่วน และกลไกลการมีส่วนร่วนของประชาชนในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนนำไปสู่การเป็นจังหวัดสะอาด ได้แก่ 1) แผนการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของจังหวัดลำพูนนั้นมีความชัดเจน แนวทางการสื่อสารและการปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้ผู้นำไปปฏิบัติสามารถปฏิบัติตามได้ง่าย เช่น โครงการ “จังหวัดปลอดขยะเปียก” เพื่อลดปริมาณขยะเปียกครัวเรือนตั้งแต่ต้นทางโครงการ “ลำพูนเมืองสะอาดปราศจากโฟม ตลาดปลอดโฟม และห้างสรรพสินค้าไม่จำหน่ายภาชนะโฟมสำหรับบรรจุอาหาร และโครงการ “ลำพูนร่วมใจใส่ใจสิ่งแวดล้อม ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และหลอดพลาสติก” เป็นต้น 2) กลไกลความร่วมมือภายในหมู่บ้าน ชาวบ้านให้ความร่วมมือและดำเนินการในรูปแบบกิจกรรมจิตอาสา ไม่มีค่าตอบแทน และไม่ถือเป็นภาระหน้าที่ของใครคนหนึ่ง 3) บทบาทของตัวผู้นำ จากแนวคิด “ผู้นำทำก่อน” เมื่อผู้นำนั้นลงมือปฏิบัติเพื่อเป็นแบบอย่าง และมีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ทำให้ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านมากขึ้น 4) การทำงานในลักษณะเครือข่ายแต่ไม่ใช่การเพิ่มภาระ และ 5) รางวัล แรงจูงใจ และความภาคภูมิใจ
Downloads
Published
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.