ผลการลดจำนวนเชื้อแอกกริเกทิแบกเตอร์ แอกทิโนมัยซิเทมโคมิแทนส์ ด้วยกระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิกโดยมีสารไวแสงจากเจลสกัดขมิ้นชัน เมื่อกระตุ้นด้วยแสงสีฟ้าจากเครื่องฉายแสงทางทันตกรรมโดย มีความเข้มแสง และปลายท่อนำแสงต่างกัน: การศึกษาในห้องปฏิบัติการ

Authors

  • น้ำทิพย์ เตโชเรืองวิวัฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

ปลายท่อนำแสง, โฟโตไดนามิก, เจลขมิ้นชัน, โรคปริทันต์อักเสบ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการใช้สารสกัดขมิ้นชันด้วยรูปแบบเจลเป็นสารไวแสงในการลดเชื้อแอกกริเกทิแบกเทอร์ แอกทิโนมัยซิเทมโคมิแทนส์ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงสีฟ้าจากเครื่องฉายแสงทางทันตกรรมในกระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิก โดยศึกษาเปรียบเทียบเมื่อใช้ร่วมกับหัวนำแสงที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่เพื่อให้สะดวกต่อการใช้จริงในคลินิก รวมถึงเปรียบเทียบความเข้มแสงของเครื่องฉายแสงที่ต่างกัน ผลการศึกษาพบว่าผลิตขึ้นใหม่จากการขึ้นรูปอะคริลิก ชนิดบ่มเองให้กำลังแสงที่สูงที่สุด โดยมากกว่าปลายท่อนำแสงที่ทำขึ้นจากแก้วประมาน 3-4 เท่า เมื่อใช้ร่วมกับเครื่องฉายแสงที่มีความเข้มแสงเท่ากัน โดยกำลังแสงที่ได้จะแปรผันตามความเข้มแสงของเครื่องฉายแสงทางทันตกรรม และผลของการฉายแสงกระตุ้นเจลขมิ้นชันความเข้มข้น 62.5 ไมโครกรัมต่อกรัม ด้วยเครื่องฉายแสงที่มีความเข้มแสงสูง 2200-3000 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร ให้ผลเท่ากับการฉายด้วยเครื่องฉายแสงที่มีความเข้มแสง 1000-1200 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร ในการยับยั้งเชื้อแอกกริเกทิแบกเทอร์ แอกทิโนมัยซิเทมโคมิแทนส์ ที่เวลา 0, 24, 36 และ 48 ชั่วโมง (p > 0.05) ดังนั้นปลายท่อนำแสงชนิดใหม่สามารถใช้ร่วมกับเครื่องฉายแสงทางทันตกรรมเพื่อการกระตุ้นเจลขมิ้นชันในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบด้วยกระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิก โดยให้ผลการลดเชื้อไม่แตกต่างกับการใช้ปลายท่อนำแสงที่ทำมาจากแท่งแก้ว

Downloads

Published

2023-05-22