ความสัมพันธ์ระหว่างความยั่งยืนขององค์กรกับความสามารถ ในการสร้างผลตอบแทนของเงินลงทุน
Keywords:
ระดับความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล, เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน, ผลตอบแทนของเงินลงทุนAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยั่งยืนขององค์กรกับความสามารถในการสร้างผลตอบแทนของเงินลงทุน และเพื่อต้องการให้ผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทย ทั้งที่อยู่ในและนอกตลาดหลักทรัพย์ สามารนำมาใช้ในการวางแผน และประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินงานด้านความยั่งยืน โดยตัวแปรอิสระออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ระดับความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) แบ่งเป็น 3 ด้าน คือสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล 2) การตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ สิทธิมนุษยชน แรงงาน และการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นระยะเวลา 5 ปี ในช่วงปี 2560 - 2564 จำนวนทั้งสิ้น 320 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า คะแนนด้านสังคม และคะแนนด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่น มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับความสามารถในการสร้างผลตอบแทนของเงินลงทุน ในขณะที่คะแนนด้านสิ่งแวดล้อม และคะแนนด้านสิทธิมนุษยชนมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับความสามารถในการสร้างผลตอบแทนของเงินลงทุน สำหรับคะแนนด้านอื่นๆ คือ คะแนนด้านบรรษัทภิบาล และคะแนนด้านแรงงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการสร้างผลตอบแทนของเงินลงทุนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Downloads
Published
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.