ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5: กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดภูเก็ต
Keywords:
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD, กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา, ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์Abstract
การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในปัจจุบันจำเป็นต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่เน้นให้ผู้เรียนช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบขั้นตอนตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพยา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญาในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดภูเก็ต กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อีกทั้ง ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
Downloads
Published
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.