การมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

พระครูสุตวรธรรมกิจ, ผศ.ดร.

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่น 2) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่น การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 394 ราย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบ การทดสอบสถิติ tและ f ผลการวิจัยพบว่า


1. การมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\dpi{100}\bar{X}= 4.19, S.D. = .31) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านร่วมพิจารณาโครงการ (gif.latex?\dpi{100}\bar{X}= 4.17, S.D. = .36) รองลงมาได้แก่ ด้านร่วมประเมินผล (gif.latex?\dpi{100}\bar{X} = 4.15, S.D. = .48) ด้านร่วมตัดสินใจ (gif.latex?\dpi{100}\bar{X}= 4.09, S.D. = .51) ด้านร่วมดำเนินงาน (gif.latex?\dpi{100}\bar{X}= 4.07, S.D. = .48) และด้านการเข้าร่วมประชุม (gif.latex?\dpi{100}\bar{X}= 4.06, S.D. = .51) ตามลำดับ


2. ข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่น ควรเห็นว่าการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นต้องให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและประชาชนมากที่สุด ฉะนั้น ควรเข้าร่วมในการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่นทุกขั้นตอน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สมบัติ คุณเจริญ. (2557). ศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดในการพัฒนาท้องถิ่น : ศึกษากรณีจังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุจินต์ ดาววีระกุล. (2527). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาหมู่บ้าน: ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านชนะเลิศการประกวดหมู่บ้านดีเด่นระดับจังหวัดของ จังหวัดนครสวรรค์ประจำปี พ.ศ. 2527. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.