ความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจของการจัดงานเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ PATTAYA COUNTDOWN 2020
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจของการจัดงานเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ PATTAYA COUNTDOWN 2020 ด้วยการประมาณการปริมาณเงินสะพัดจากโครงการฯ ผ่านปริมาณเงินค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว และปริมาณเงินรายได้ของผู้ประกอบการภายในบริเวณพื้นที่จัดงาน เปรียบเทียบกับงบประมาณในการจัดงานฯ ดำเนินการศึกษาโดยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 350 คน นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จำนวน 50 คน และผู้ประกอบการ จำนวน 50 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์การจำแนกพหุ เพื่อคาดประมาณค่าเฉลี่ยรวมสำหรับการประมาณการปริมาณเงินค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวและปริมาณเงินรายได้ของผู้ประกอบการภายในบริเวณพื้นที่จัดงาน ตามลำดับ
ผลการวิจัยพบว่า ความคุ้มค่าของโครงการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ PATTAYA COUNTDOWN 2020 พบว่า โครงการนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-31 ธันวาคม 2562 มีความคุ้มค่ามาก โดยมีเงินสะพัดรวม 320,141,636.28 บาท (มาจากเม็ดเงินค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว 316,896,734.08 บาท รวมกับรายได้ของผู้ประกอบการ 3,244,902.20 บาท) ทั้งนี้เปรียบเทียบกับงบประมาณในการจัดงานเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ PATTAYA COUNTDOWN 2020 จากเมืองพัทยาและองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จำนวน 15,000,000 บาท
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธนวัฒน์ ชูวัน. (2563). การศึกษาความคุุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่อการนำระบบไร้กระดาษ (Paperless) มาใช้ในบริษัท พี.ซี.ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปทิดา โมราศิลป์, วีระศักดิ์ คงฤทธิ์ และอภิวัฒน์ อายุสุข. (2562). การเติบโตของเศรษฐกิจท่องเที่ยวและปัญหาการกระจายรายได้ในเกาะพงัน. วารสารวิทยาการจัดการ, 6(2), 329-348.
ประไพพิศ สวัสดิ์รัมย์ และมุขสุดา พูลสวัสดิ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการขยายตัวของนักท่องเที่ยว โครงสร้างรายได้และการกระจายรายได้ของชุมชนท่องเที่ยวในภาคตะวันออก. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 9(1), 27-41.
ประสิทธิ์ ตงยิ่งศิริ. (2545). การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พรเทพ นามกร, จักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์, อุษณากร ทาวะรมย์ และปตนพรรชญ์ แพทย์ชัยวงษ์. (2563). รายงานประเมินผลโครงการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ (PATTAYA COUNTDOWN 2020). (รายงานการวิจัย). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิชามญชุ์ กาหลง. (2564). แนวทางการประเมินความคุ้มค่าของโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรณีจ้างก่อสร้าง. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ, 2(3), 46-60.
เพียงจันทร์ ลิขิตเอกราช. (2535). การกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว : กรณีศึกษางานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เมืองพัทยา. (2562). โครงการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ (PATTAYA COUNTDOWN 2020). ชลบุรี: เมืองพัทยา. เอกสารอัดสำเนา.
เมืองพัทยา. (2565). PATTAYA CITY, Chonburi Thailand มุ่งสู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.pattayacityevents.com/TH/home.html.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สรุปรายได้และค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย พ.ศ. 2558 - 2563. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
อนัตน์ วัฒนกุลจรัส, พรเพ็ญ วรสิทธา และอุดมศักดิ์ ศีลประชาวงศ์. (2560). มุ่งสู่การสร้างรายได้อย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 57(3), 1-20.
อัญชลี นัสสาสาร, มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด, ศศิเพ็ญ พวงสายใจ และพรทิพย์ เธียรธีรวิทย์. (2548). การวิเคราะห์รายจ่ายของนักท่องเที่ยวในเทศกาลลอยกระทง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 9(3), 78-96.
อัญชลี นัสสาสาร. (2548). การวิเคราะห์รายจ่ายของนักท่องเที่ยวในเทศกาลลอยกระทง จังหวัดเชียงใหม่.(วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Go Asia Pte., Ltd. (2023). Top 10 Most Popular Destinations in Thailand. 18 July 2023. Retrieved from https://12go.asia/en/thailand/top-10-most-popular-destinations.
Andrew, F. M., Klem, L., Davidson, T. N., O M., Patrick M., and Rodgers, W. L. (1981). A guide for selecting statistical techniques for analyzing social science data. 2nd ed. Ann Arbor: Institute for Social Research, University of Michigan.
Campbell, H. F. and Brown, R. P. C. (2003). Benefit-Cost Analysis: Financial and Economic Appraisal Using Spreadsheets. New York: Cambridge University Press.
Klai–um, U. (2010). Impact of Tourism Industry Related on Production Branches of Bangkok: Analyzed Using Factors of Production–Production Table. Bangkok: N.P.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Mishan, E. J. and Quah, E. (2007). Cost-Benefit Analysis. 5thed. London and New York: Routledge.
United Nations. (2008). Tourism Satellite Account: Recommended Methodological Framework 2008. 5 November 2023. Retrieved from https://unstats.un.org/unsd/publication/seriesf/seriesf_80rev1e.pdf