การเข้าถึงสวัสดิการของคนพิการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ในเขตเทศบาลนครระยอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าถึงสวัสดิการของคนพิการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) และศึกษาความพึงพอใจของคนพิการที่มีต่อสวัสดิการที่ได้รับในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาลนครระยองวิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้พิการที่มีสิทธิรับเบี้ยคนพิการในเขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.00 ถึงเข้าถึงสวัสดิการโดยใช้ช่องทางผ่านโทรศัพท์มือถือ ส่วนใหญ่ร้อยละ 86.79 มีผู้ปกครอง/ผู้อุปการะ/ผู้ดูแล เป็นคนลงทะเบียนให้ สำหรับมาตรการเยียวยาการช่วยเหลือของรัฐบาลในระยะที่ 1 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.50 เลือกมาตรการลดภาระบรรเทาภาระการจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ และคืนค่าประกันการไฟฟ้า ส่วนมาตรการการเยียวยาการช่วยเหลือของรัฐบาลระยะที่ 2 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.07 เลือกโครงการเราไม่ทิ้งกันสนับสนุนเงิน คนละ 5,000 บาท/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน และมาตรการการเยียวยาการช่วยเหลือของรัฐบาล ระยะที่ 3 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.29 เลือกโครงการเราชนะ 2) ความพึงพอใจต่อมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล ระยะที่ 1 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจน้อยในทุกมาตรการ/โครงการ สำหรับความพึงพอใจต่อมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล ระยะที่ 2 พบว่า ความพึงพอใจต่อโครงการเราไม่ทิ้งกันสนับสนุนเงิน คนละ 5,000 บาท/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน และโครงการคนละครึ่ง ในระดับปานกลาง ส่วนโครงการเราเที่ยวด้วยกันอยู่ในระดับน้อยที่สุด และความพึงพอใจต่อมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล ระยะที่ 3 พบว่า ความพึงพอใจโครงการเราชนะในระดับปานกลาง โครงการ ม.33 เรารักกัน โครงการ เพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ โครงการคนละครึ่งเฟส 3 มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ มีความพึงพอใจระดับน้อย ยกเว้นโครงการ ยิ่งใช้ ยิ่งได้ มีความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมโรค. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คำแนะนำสำหรับประชาชน: การป้องกันตนเอง. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/int_protection.php.
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2564). รายงานประจำปีกรมส่งเสริมและพัฒนาชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ.
กัลยา สว่างคง และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). เรื่องเล่าการท่องเที่ยวของผู้พิการทางสายตาในสังคมไทย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 7(2), 30-49.
ฐิติพรรณ กรมยินดี และสุริยะ ประภายสาธก. (2565). ความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการเราชนะในอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(12), 65-77.
เทศบาลนครระยอง. (2564). รายงานแสดงผลการปฏิบัติงานรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://pubhtml5.com/qfqj/ebsx/
นัชชา เกิดอินทร์, กาญจนาพร วงศ์อาจ และโชติ บดีรัฐ. (2564). มาตรการการเยียวยาของรัฐต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(11), 259-272.
บูรณจิตร แก้วศรีมล. (2564). การให้บริการสาธารณะภายใต้แนวคิดรัฐบาลดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(5), 83-96.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก, หน้า 1
รุจิรา คงเกิด และคณะ. (2566). การรับมาตรการเยียวยาของประชาชนต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(1), 95-113.
Yamane, T. (1973). An Introductory Analysis. 3rd Edition. Harper & Row Ltd: New York.