การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรสุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 400 คน เครื่องมือใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่มีอายุ อาชีพ ระดับความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการป้องกัน จำนวนครั้งที่ได้รับข่าวสารในการเข้าร่วมกิจกรรมในการป้องกัน มีความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยที่มีเพศ ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน มีความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรวิทย์ เกาะกลาง, วินิจ ผาเจริญ และวัชระ ชาติมนตรี. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กรณีศึกษาเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 2(1),1-11.
กัมพล เพ็ชรล้อมทอง และธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). การมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด: กรณีศึกษาตำบลลำประดา อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร. Journal of Modern Learning Development, 7(5), 92-104.
ปาณิศา แสงสุวรรณ และคณะ. (2565). บทบาทของผู้นำชุมชนต่อการรับมือวิกฤติโรคระบาดCOVID-19 กรณีศึกษาตำบลทุ่งคาโงก อำเภอเมือง จังหวัดพังงา. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 3(2), 13-28.
พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ชยทตฺโต. (2565). การสร้างเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของคณะสงฆ์ในภาคกลาง. วารสารศิลปะการจัดการ, 6(1), 236-251.
พระครูสุตวรธรรมกิจ. (2563). การมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 1(2), 12-20.
เพลินสุข ทองคำมั่น. (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมประชาคมหมู่บ้านต้านยาเสพติด ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. (รายงานการวิจัย). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วินัย นุชชา. (2543). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้โทษ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรตำบลเปร็ง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. (รายงานการวิจัย). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วิราษ ภูมาศรี และมงคลชัย สมศรี. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่. วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน, 3(2), 14-22.
วิราษ ภูมาศรี, พระครูสังฆรักษ์วีรวัฒน์ วีรวฑฺฒโน, วรยุทธ์ สถาปนศุภกุล, มงคลชัย สมศรี และสรวิศ พรมลี. (2564). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 2(1), 1-11.
วิราษ ภูมาศรี. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 3(1), 12-21.
สมจิต แดนสีแก้ว. (2548). การขับเคลื่อนชุมชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดแก่สังคม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2564). แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2565, เข้าถึงได้จาก http://www.pmnidat.go.th/thai/downloads/serviceplan/SP02-65.pdf
สุวปรียา จันต๊ะ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 4(1), 16-29.