ผลกระทบและการปรับตัวของเกษตรกรปลูกข้าวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านทราย เมืองช่อน แขวงหัวพัน สปป.ลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นปัญหาสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการเกษตรที่ยังพึ่งดินฟ้าอากาศและน้ำฝนเป็นหลัก บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลกระทบของเกษตรกรปลูกข้าวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเขตชุมชนเมืองช่อน แขวงหัวพัน สปป.ลาว 2) ลักษณะการปรับตัวของเกษตรกรปลูกข้าวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเขตชุมชนเมืองช่อน แขวงหัวพัน สปป.ลาว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งกลุ่มประชากรเป็นเกษตรกรที่มีภูมิลำเนาอาศัยในชุมชนบ้านทราย เมืองช่อน แขวงหัวพัน จำนวน 68 ครัวเรือน โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 27 คน และใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติหาค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรปลูกข้าวได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมากที่สุด คือ ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล (ร้อยละ 96.30) ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตเมล็ดข้าว และทำให้ต้นข้าวเหี่ยวเฉาก่อนการเติบโตของเมล็ดก่อนระยะเวลาเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ยังเป็นตัวเร่งการขยายพันธุ์ของแมลงศัตรูพืชโดยเฉพาะตั๊กแตน และเกษตรกรปลูกข้าวมีลักษณะการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยด้านที่มีการปรับตัวมากที่สุด คือ ด้านสังคม (การเปลี่ยนพันธุ์ข้าว ร้อยละ 96.59) ซึ่งการปรับตัวจากผลกระทบดังกล่าวยังเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากเกษตรกรยังขาดความรู้ ขาดการส่งเสริมและการสนับสนุนจากหน่วยงานและต้องใช้งบประมาณ ดังนั้นเกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรวางแผนจัดการน้ำและการสนับสนุนความรู้ในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกรียงไกร แสนทวีสุข. (2561). การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาวะโลกร้อน. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2566. เข้าถึงได้จากhttp://www.wing2rtaf.net/department/weather/images/commander/2.4%20.pdf
ธัญญาลักษณ์ ศรีโชค. (2563). การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้ปลูกองุ่นรับประทานสด. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 3(1), 60-71.
ปุณยาพร ปรางบาง และคณะ. (2562). การรับรู้และการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย. วารสารเกษตรพระวรุณ, 16(1),105–119.
ศศิมา ฟักคง, จักรพงษ์ หรั่งเจริญ, ยุทธพล สาเอี่ยม และนราศักดิ์ บุญมี. (2564). การปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกมะยงชิด จังหวัดนครนายกต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 16(2), 57-66.
สวรรยา ธรรมอภิพล และนิวภร สิทธิภักดี. (2560). การปรับตัวของเกษตรกรสวนมังคุด จังหวัดระนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรณีศึกษา:ชุมชนบกกราย ตำบลน้ำจืด อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง. วารสารวิชาการ Veridian E- Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 1350-1359.
Chinvanno, S. (2009). Future Climate Projection for Thailand and Surrounding Countries: Climate change scenario of 21st century. The First China-Thailand Joint Seminar on Climate Change, 23-24 March 2009. Bangkok: Thailand Research Funf (TRF) and National Natural Science Foundation of China (NSFC).
Kirk, P.M., Cannon, P.F., David, J.C. and J.A. Stalpers. (2009). Dictionary of The Fungi.
Egham. UK: CABI Bioscience.