ความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีผลต่อการบริหารแนวใหม่ กรณีศึกษาเทศบาลเมืองเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สุดเขต สกุลทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีผลต่อการบริหารแนวใหม่ กรณีศึกษาเทศบาลเมืองเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีผลต่อการบริหารแนวใหม่ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารแนวใหม่ต่อนักการเมืองท้องถิ่นเพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาชนในท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t-test  และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า ความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีผลต่อการบริหารแนวใหม่ กรณีศึกษาเทศบาลเมืองเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.53) และผลการเปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีผลต่อการบริหารแนวใหม่ พบว่า ระดับความคาดหวังของประชาชนจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และพื้นที่พักอาศัย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และข้อเสนอแนะ นักการเมืองท้องถิ่นควรร่วมมือกันปฏิบัติงานโดยมุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2560-2569. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2565. เข้าถึงได้จาก http://www.dla.go.th/visit/stategics.pdf

จำเนียนน้อย สิงหะรักษ์. (2553). ทัศนคติของประชาชนในอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชรที่มีต่อจริยธรรมของนักการเมืองท้องถิ่น. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(2), 23-34.

ฉลวยรักษ์ ประสงค์. (2552). คุณธรรม จริยธรรมและพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชไมพร วดีศิริศักดิ์. (2552). ความคาดหวังและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อบทบาทตามนโยบายการพัฒนาของเทศบาลตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

โชคสุข กรกิตติชัย. (2560). ทิศทางการปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2565. เข้าถึงได้จาก https://cdc.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=42360

ฐิติรัตน์ แย้มนวล. (2550). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามทัศนะของประชาชน: ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เทศบาลนครเชียงใหม่. (2562). สถิติประชากรในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565. เข้าถึงได้จาก http://www.cmcity.go.th/

ธวัชชัย วงศ์สังยะ. (2554). คุณลักษณะนักการเมืองท้องถิ่นในอุดมคติ: กรณีศึกษาเขตตำบลบางโปรง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชุม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีรินาสาส์น.

บุษบา นักฟ้อน และสถาพร สันติบุตร. (2556). ความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนของเทศบาลตำบลในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 3(2), 173-179.

พระครูสุตวรธรรมกิจ. (2564). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลจตุรพักตรพิมาน อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน, 2(1), 12-20.

พระปลัดสถิตย์ โพธิญาโณ และวินิจ ผาเจริญ. (2565). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 3(1), 12-20.

พระมหาชูศักดิ์ คำแปง. (2543). ทัศนคติต่อจริยธรรมของนักการเมืองไทยของประชาชนอำเภอเทิง.(วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไพสิน นกศิริ. (2558). คุณลักษณะของนักการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบล คลองหาด จังหวัดสระแก้ว. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มัฌสุรีย์ มณีมาศ. (2562). ความเชื่อถือไว้วางใจของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐในสังคมพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้: กรณีศึกษาจังหวัดนราธิวาส. (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รณกฤต ทะนิต๊ะ. (2553). คุณลักษณะนักการเมืองท้องถิ่นตามความคาดหวังของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. (ปริญญารัฐประศาสศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

วันเพ็ญ ชูจุ้ย. (2553). ความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา. (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

วินิจ ผาเจริญ, สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล, สถาพร แสงสุโพธิ์ และนนท์ น้าประทานสุข. (2565). บทบาทผู้นำชุมชนท้องถิ่นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโป่งกุ่ม ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 3(2), 1-12.

วิราษ ภูมาศรี. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 3(1), 12-21.

อภิรมย์ สีดาคำ, นพดณ ปัญญาวีรทัต และวินิจ ผาเจริญ. (2563). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารของคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน, 1(1),8-19.