การมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาครัฐและประชาชนในการป้องกันและ แก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ดาวรุ่ง โสฬส
ประเสริฐ ปอนถิ่น
อภิรมย์ สีดาคำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาครัฐและประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ตำบลแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาครัฐและประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะแนวทาง และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาไฟป่า เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลแม่เหียะ จำนวน 392 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน t-test F-test การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาครัฐและประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า ได้แก่ หลักอปริหานิยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาครัฐและประชาชน ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 2) หลักอปริหานิยธรรมมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาครัฐและประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ปัญหา อุปสรรค พบว่าขาดการมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาหรือความต้องการของเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า ขาดการกำหนดการใช้ทรัพยากร แหล่งของทรัพยากรที่จะใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า และข้อเสนอแนะแนวทาง พบว่าควรส่งเสริมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจวางแผนขั้นตอนการ ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า และควรส่งเสริมมีส่วนร่วมในการพิจารณาตรวจสอบ ทบทวน และแก้ไขโครงการหรือกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าก่อนนำไปใช้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยณัฐ สิทธิมล. (2559). การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ 80 วัน แห่งการเฝ้าระวัง และควบคุมหมอกควันไฟป่าในพื้นที่บ้านผาลาย ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. นนทบุรี: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

เทศบาลเมืองแม่เหียะ. (2564). สำนักบริหารงานทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองแม่เหียะ. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565. เข้าถึงได้จาก http://www.maehia.go.th/index.php

นิพิฐพนธ์ ลิมัณตชัย. (2561). การมีส่วนร่วมของภาครัฐและประชาชนในการแก้ไขปัญหาการเกิดไฟป่าและหมอกควัน ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ปรีดา ธรรมรักษา. (2561). บทบาทของหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนในการจัดการไฟป่าพรุควนเคร็งพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบ่อล้อ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พระคำรณ อติภทฺโท (ทองน้อย). (2562). การบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่า ตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วินิจ ผาเจริญ และชาญชัย ฤทธิร่วม. (2565). การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการป่าชุมชน กรณีศึกษาบ้านตลาดขี้เหล็ก ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 3(1), 47-58.

ศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ. (2556). ยุทธศาสตร์ภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สมชาย โกมลคงอยู่. (2561). การใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อจำแนกต่อพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ภาคเหนือ. เชียงใหม่: สำนักงานป้องกันปราบปรามควบคุมไฟป่า.

อนุวัฒน์ ศรีษะเกษ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 เพื่อการทำงาน: กรณีศึกษาอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยวิทยาเขตอีสาน, 1(2), 67-84.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1980). Rural Development Participation: Concepts and Measures for Project design. Implementation and Evaluation. New York: the Rural Development Committee. Center for International Studies. Cornell University.

Hawkes, D. (2012). Environmental tradition: studies in the architecture of environment. Los Angeles: California Environmental Protection Agency.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.