บทบาทของนครโสเภณีที่ปรากฏในพระไตรปิฎก

Main Article Content

โสภณ จาเลิศ
ประสิทธิ์ ชาระ

บทคัดย่อ

นครโสเภณี กําเนิดมาจากอินเดียในสมัยโบราณ คือเจ้าชายลิจฉวีจํานวนมากมีความ ต้องการหญิงงามคนหนึ่ง ที่เมืองไพศาลีชื่อนาง อัมพปาลีมาเป็นของตน เกิดการแย่งชิงกันจนไม่ สามารถตัดสินได้ว่าจะให้นางตกเป็นของใคร สภาเมืองไพศาลี จึงตัดสินให้นางอัมพปาลีตกเป็นของ กลางประจําเมือง ผู้ใดต้องการหาความอภิรมย์กับนางต้องจ่ายเงินตามราคาที่กําหนด และได้ออก กฎหมายให้มีโสเภณีประจําเมืองขึ้นเป็นฉบับแรกของโลก เรียกว่า นครโสเภณี หมายถึงหญิงงาม ประจํานคร ตําแหน่งนี้ต้องได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เป็นตําแหน่งที่มีเกียรติ มีฐานันดรศักดิ์ สูงส่ง ต่อมาเมืองต่าง ๆ ได้มีการแต่งตั้งหญิงงามในเมืองของตนเป็น นครโสเภณี


บทบาทของนครโสเภณีต่อพระพุทธศาสนา พบว่านครโสเภณี มีบทบาทต่อ พระพุทธศาสนา คือ ด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนา นครโสเภณีเกือบทุกคน เมื่ออายุมากขึ้นจะบวชเป็น ภิกษุณีจนบรรลุอรหันต์ และทําหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา เช่นนาง สิริมา ได้ตั้งสลากภัต 8 กอง แก่พระสงฆ์ ภิกษุ 8 รูปก็มาเรือนนางเป็นประจํา นางถวายบิณฑบาต โดยค่าใช้สอย 16 กหาปณะ ทุกวัน ด้านการสร้างศาสนวัตถุ พบว่า นางอัมพปาลี ได้ถวายสวนมะม่วง แด่พระพุทธเจ้าเพื่อสร้างวัด คือ “อัมพปาลีวัน” ด้านการปฏิบัติธรรม พบว่า นครโสเภณีเมื่อมีอายุ มากขึ้น ได้หันหน้ามาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง และออกบวชจนบรรลุธรรมขั้นสูงถึงอรหันต์ สําหรับ นางสิริมา แม้นางไม่ได้ออกบวช ก็ได้บรรลุธรรมถึงขั้นโสดาบัน

Article Details

How to Cite
จาเลิศ โ. ., & ชาระ ป. . (2022). บทบาทของนครโสเภณีที่ปรากฏในพระไตรปิฎก. วารสารปรัชญาอาศรม, 1(2). สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/594
บท
บทความวิชาการ