ศึกษาวิเคราะห์กระบวนการศึกษาตามหลักไตรสิกขา

Main Article Content

ประจิณ ปัญโญ
ประสิทธิ์ ชาระ

บทคัดย่อ

หลักไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ทําให้ความประพฤติทาง
กายและจิตใจได้ผ่านหลักวิธีปฏิบัติที่เรียกว่า อริยมรรคไปด้วย คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ซึ่งรวมลงใน
ไตรสิกขา หลักไตรสิกขานี้ยังเป็นการดําเนินสู่เป้าหมายแห่งความเป็นอริยบุคคล คือ พระโสดาบัน
พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ สําหรับตัวชี้วัดการศึกษานั้นใช้หลักภาวิต 4 ด้าน คือ
ภาวิตกาย ภาวิตศีล ภาวิตจิต และภาวิตปญญา หากปฏิบัติครบบริบูรณ์จึงชื่อว่าผู้จบการศึกษาที่
เรียกว่า พระอเสขบุคคล
พระพุทธองค์ทรงให้การศึกษาด้วยพระองค์เอง ระยะแรกทรงวางรูปแบบการศึกษาด้วย
การให้พระอัครสาวกเปนผูใหการศึกษา ต้อมาจึงส่งเสริมให้สมาชิกสงฆ์ได้รับประโยชน์ในส่วนของตน
ด้วยการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา มีการจัดสภาพให้เอื้อต่อการศึกษาแกหมูพระภิกษุ เช่น ให้ถือ
อุปัชฌาย์และอาจารย์ เป็นต้น
บุคคลเหล่านี้ คือ ผู้ที่มุ่งมั่นในการพัฒนาตนอยู่แล้ว จนบางคนมีศักยภาพสูงที่สามารถ
แสดงธรรมแก่บุคคลอื่นได้และเป็นเอตทัคคะ ที่เป็นอริยบุคคลจํานวนมาก สังคมสงฆ์เบื้องต้นคอยค้ำ
จุนให้กับพุทธบริษัทอื่น ๆ สามารถขับเคลื่อนพัฒนาไปดวยกันโดยการอิงอาศัย ซึ่งกันและกันอย่างมี
ดุลยภาพ เพื่อพัฒนาให้เกิดประโยชน์และเข้าใจหลักความจริงของโลกและชีวิตด้วยปัญญา โดยมเป้าหมายในประโยชน์ 3 ประการ คือ 1) ประโยชน์สุขของชีวิตในปัจจุบัน 2) ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป
อันได้แก่หลักประกันชีวิตในภพหน้า และ 3) ประโยชน์อย่างยิ่ง (ปรมัตถ์) คือ พระนิพพาน

Article Details

บท
บทความวิชาการ