ระบบการจัดการเรียนโดยวิธีกรณีศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนโรงเรียนการกุศลในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา ระบบการจัดการเรียนโดยวิธีกรณีศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนโรงเรียนการกุศลในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

พระสุรพล อาภรโณ ไกรรอด

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ระบบการจัดการเรียนโดยวิธีกรณีศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ..สำหรับนักเรียนโรงเรียนการกุศลในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ 2) เพื่อประเมินสภาพปัญหาและความต้องการ 3) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียน 4) เพื่อประเมินประสิทธิภาพ โดยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียน 45 คน และผู้บริหาร-ครู 10 คน โดยใช้เครื่องมือวิจัยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า
ระบบการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การนำเสนอกรณีศึกษา การศึกษาและอภิปราย การสรุปประเด็นสำคัญ และการประเมินผล การประเมินสภาพปัญหาพบว่า ทั้งด้านหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ สื่อ กิจกรรม และการวัดผลมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากเป็นที่น่าพึงพอใจ..การพัฒนาระบบได้นำเสนอแผน “SURAPHON PLAN” เพื่อส่งเสริมการคิดวิจารณญาณ สุดท้ายการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าระบบสามารถส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กัญภร เอี่ยมพญา และคณะ. (2564). ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อการจัดการศึกษา. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม. 35 (2), 352.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตรีชฎา ปุ่นสำเริง และคณะ. (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานและสถานการณ์เสมือนจริงที่มีต่อการรับรู้ทักษะการตัดสินทางคลินิก และทักษะการตัดสินทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 14 (1), 1 - 12.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ (2555). ภาพอนาคตการศึกษาไทย: สู่การศึกษาภควันตภาพ ในการอบรมปฏิบัติการ บูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อยกระดับการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกยาขั้นพื้นฐาน.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, และคณะ.(2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 3 (2), 208 - 222.

วันเพ็ญ สุลง. (2561). การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ วิชาการบริหารงานคุณภาพใน องค์การ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ. (2562). ผลของการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานต่อความคงทนในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 8 (1), 187 - 196.

วทัญญู สุวรรณประทีป. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับปัญหาเป็นฐานและแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน.เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่.4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มรรษภร เชื้อทองฮัว. (2555). ผลของการใช้กรณีศึกษาในรายวิชา FIB420 การวิเคราะห์และรายงานทางการเงิน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน. วารสารการศึกษา. 5 (2), 11 - 17.