แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมเทศกาลตรุษจีน ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธเนศ ชัยชนะกิจการ
พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์ ดวงจันทร์ บุญเทียม
เทพประวิณ จันทร์แรง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมเทศกาลตรุษจีน 2) ศึกษาแนวคิดและพัฒนาการเทศกาลตรุษจีน 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมเทศกาลตรุษจีนในจังหวัดเชียงใหม่
เทศกาลตรุษจีนจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อความเป็นสิริมงคล..ความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเองและครอบครัว รวมทั้งไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อแสดงความกตัญญูต่อตระกูล มีการให้ทาน การกล่าวคำอวยพร การร่วมประชุม การเคารพผู้ใหญ่ ปฏิบัติตามธรรมเนียมของเทศกาล ซึ่งสอดคล้องกับหลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนา หลักพุทธธรรมนั้นพระพุทธเจ้าทรงสอนให้มนุษย์เข้าถึงสัจจะแห่งชีวิตและสันติสุขรวมถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติลดความขัดแย้งขจัดความเห็นแก่ตัว ได้แก่ สังคหวัตถุ 4 สาราณียธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 เทศกาลตรุษจีนถือเป็นเทศกาลสำคัญที่สุดของชาวจีนและชาวพุทธเชื้อสายจีน ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของปี โดยธรรมเนียมปฏิบัติ เมื่อถึงเทศกาลตรุษจีนสมาชิกทุกคนในครอบครัวจะกลับมารวมกันที่บ้านเพื่อร่วมกันเฉลิมฉลอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิติพงษ์ ตันเจริญ. (2555). การให้ความหมายและพฤติกรรมการซื้อของเซ่นไหว้สำหรับเทศกาลตรุษจีนของคนไทยเชื้อสายจีนบริเวณถนนเยาวราช. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กัลยาณมิตร ธรรมะออนไลน์. (28 กรกฎาคม 2560). หนังสือ PD ๐๐๘ พุทธธรรม 2 สาราณียธรรม 6 (วิธีสร้างความสามัคคี 6 ประการ). สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2567, จาก https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i15409.

จิตรา ก่อนันทเกียรติ. (2557). ตึ่ง หนั่ง เกี้ย. กรุงเทพมหานคร : แสงเจริญพริ้นต์ แอนด์เพรส.

ต้วน ลี่ เซิง และบุญยิ่ง ไร่สุขสิริ. (2543). ความเป็นมาของวัดจีนและศาลเจ้าจีนในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สายส่งศึกษิตการพิมพ์.

ศุภการ สิริไพศาล. (2550). จีนหาดใหญ่ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและสังคม, สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 17, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

ภารดี มหาขันธ์ และนันท์ชญา มหาขันธ์. (2553). ตระกูลแซ่ในจังหวัดชลบุรี : วิถีและพลังชลบุรี. รายงานการวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไทยศึกษา. (29 กันยายน 2561). เทศกาลตรุษจีนในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2567, จาก http://www.thaistudies. chula.ac.th/2018/09/29/

ผู้จัดการออนไลน์. (1 กุมภาพันธ์ 2565). อู่วัฒนธรรม ส่องประเพณีฉลองเทศกาลตรุษจีนของชนชาวจีน. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2567, จาก https://mgronline.com/china/ detail/9650000010652

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (30 ธันวาคม 2565). โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2567, จาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/ book.php?book=20&chap=1&page=t20-1-infodetail09.html.