การประยุกต์ใช้หลักพุุทธธรรมเพื่่อแก้ปัญหาของผู้หญิง ที่่ถููกล่วงละเมิดทางเพศ

Main Article Content

ณภัสสรส์ เหมาะประสิทธิ์
โผน นามณี

บทคัดย่อ

สภาพและปัญหาของผู้หญิงที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ได้แก่ การแสดงออกทาง เพศกับผู้หญิงหรือเด็กหญิง ส่งผลให้เกิดความรุนแรงต่อพวกเขาทั้งทางร่างกายและจิตใจ สร้างปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาด้านการปรับตัว โดยไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลรอบๆ ตัวได้ ปัญหาด้านสภาพอารมณ์ มีความวิตกกังวล เครียด ปัญหาด้านความรัก โดยมนความ วิตกกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง ปัญหาด้านสุขภาพโดยพักผ่อนน้อย สภาพ ร่างกายไม่แข็งแรง ปัญหาด้านความกังวลในอนาคตของตนเอง โดยไม่มั่นใจในการวางเป้า หมายและการวางแผนในชีวิตของตนเอง ปัญหาภายในตนเอง โดยการมีเจตคติต่อตนเองในทางลบ


 


สําหรับการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาผู้หญิงที่ถูกล่วงละเมิดทาง เพศ ได้แก่ หลักการฝึกควบคุมจิตใจให้เข้มแข็ง คือ พละ 5 ประการ ประกอบด้วย ศรัทธา เชื่อในผู้นํา เชื่อในองค์กรที่จะขับเคลื่อนการแก้ปัญหาได้ร่วมกัน วิริยะพละ ทุกคนที่เข้า มามีบทบาทแก้ปัญหาผู้หญิงจะต้องมีวิริยะอุตสาหะร่วมกัน สมาธิพละ ทุกคนต้องมีสมาธิแน่ว แน่ที่จะแก้ปัญหาร่วมกัน มีความเป็นเอกภาพ ปัญญาพละ มีสายตากว้างไกล มีแผนการ ทํางานร่วมกัน สติพละ การมีสติในการทํางานทุกขั้นตอนจะทําให้ไม่ประมาทในการทํางานมีกระตือรือร้นในการทํางานตลอดเวลา และการมองโลกในแง่ดี มีกําลังใจมีความหวังในชีวิต โดยการนำหลัักคำสอนทางศาสนามาวางเป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติ การคิดดีทำดีและสร้างคุุณค่่าให้กับตนเองและสังคม จะนำพาความสงบสุุขมาสู่ผู้นั้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Robert S. Feldman. (1996). The Psychology of Adversity. Massashusett : The University of Massashusett.

Stoltz Paul G. (1997). Adversity Quotient: Turning obstacles into opportunity. New York : John Wiley.

ข่าวสดออนไลน์. (8 ตุลาคม 2564), ฉีดวัคซีนให้ลูก สร้างภูมิยุคไอที. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2561, จาก: http://www.dmh.go.th/sty_lib/news/view. asp?id=19515.

ธนกร โตะโอย. (2552). พฤติกรรมการป้องกันอาชญากรรมทางเพศของนิสิตหญิงระดับปริญญา ตรี ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล และสุรสิงห์ วิศรุตรัตน์. (2541). ฆ่าตัวตายการสอบสวนสาเหตุ และการป้องกัน, พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์

ปราบ พรมล้วน. (2549). การสอนเรื่องการสัมผัสและทักษะการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในเด็กอนุบาลโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภัทรพร สิริกาญจนและคณะ. (2546). การประยุกต์ศาสนามาใช้ในการดําเนินชีวิต ความรู้พื้น ฐานทางศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2542). หลักพุทธธรรมในการดาเนินชีวิต. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2551). คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็ก วัยเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

สมพร จรัสเจริญวิทยา. (2550). “พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ของเด็กนักเรียนหญิงวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา

บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สํานักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) ฉบับสรุป. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิคจํากัด.