ศึกษาวิเคราะห์อธิกรณสมถะในพระวินัยปิฎก

Main Article Content

นำพล พรหมการัตน์
พระเทพปิวิรเมธิี
โผน นามมณี

บทคัดย่อ

บทความวิจัย เรื่องศึกษาวิเคราะห์อธิกรณสมถะในพระวินัยปิฎก มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความหมาย ความเป็นมา และประเภทของอธิกรณ์ในพระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบ และกระบวนการอธิกรณสมถะในพระวินัยปิฎก เป็นงาน วิจัยเชิงคุณภาพ


ผลการวิจัย พบว่า อธิกรณ์ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วสงฆ์จะต้องจัดทำให้แล้วเสร็จ โดยเป็นเรื่องการโต้เถียงกันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย การโจทกล่าวหาซึ่งกันและกัน ด้วยอาบัติ ซึ่งการต้องอาบัติ การปรับอาบัติ รวมถึงการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ พระพุทธเจ้าได้แบ่งอธิกรณ์ ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ (1) วิวาทาธิกรณ์ ปัญหาที่เกิดจากการทะเลาะวิวาทกันในเรื่องพระธรรมวินัย (2) อนุวาทาธิกรณ์ ปัญหาที่เกิดจากการโจทฟ้อง หรือกล่าวหากันด้วยเรื่องการต้องอาบัติต่างๆ (3) อาปัตตาธิกรณ์ เรื่องที่เกี่ยวกับภิกษุละเมิดสิกขาบท หรือต้องอาบัติที่จะต้องระงับโดยการแสดงคืน (4) กิจจาธิกรณ์ ปัญหาหรือกิจธุระที่สงฆ์พึงจะต้องร่วมกันทำให้เสร็จด้วยการประกอบสังฆกรรม


รูปแบบ และกระบวนการอธิกรณสมถะมี 7 ประการ ประกอบด้วย (1) สัมมุขาวินัย ใช้ระงับ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์  อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์ (2) สติวินัย ใช้ระงับ อนุวาทา ธิกรณ์ (3) อมูฬหวินัย ใช้ระงับอนุวาทาธิกรณ์ (4) ปฏิญญาตกรณะ ใช้ระงับอนุวาทาธิกรณ์ และอาปัตตาธิกรณ์ (5) เยภุยยสิกา ใช้ระงับ วิวาทาธิกรณ์ (6) ตัสสปาปิยสิกา ใช้ระงับ อนุวาทาธิกรณ์ (7) ติณวัตถารกวินัย ใช้ระงับ อนุวาทาธิกรณ์ และ อาปัตตาธิกรณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการกองตารา มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2530). วินัยวินิจฉัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปริยัติโสภณ, (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2545). คำบรรยายกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2521) ว่าด้วยการลงนิคหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมมิก จำกัด.

พระพรหมคุณภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2552). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้ง ที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2444). พุทธสันติวิธี การบูรณาการหลักการและเครื่องมือจัดการ ความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

พัทยา สายหู. (2545). กลไกลของสังคม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อธิเทพ ผาทา. (2535). “การศึกษารูปแบบและกระบวนการแก้ปัญหาในพระพุทธศาสนาเถรวาท : ศึกษาเฉพาะกรณีอธิกรณสมถะ 7 และกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535. ดุษฎีบัณฑิต.