หัตถบำบัด : ข้อพิจารณาเชิงจริยธรรมทางการแพทย์

Main Article Content

มธุนันท์ ธันยธรฐิติกุล
ประสิทธิ์ ชาระ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาพัฒนาการวิถีเชิงปฏิบัติในหัตถบำบัด (2) เพื่อศึกษาจริยธรรมทางการแพทย์ในหัตถบำบัด (3) เพื่อวิเคราะห์จริยธรรมทางการแพทย์ในหัตถบำบัด เป็นการวิจัยเอกสาร
ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นมาของหัตถบำบัดไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย รูปแบบการนวดแบบแผนโบราณ เกิดจากการนวดเพื่อช่วยเหลือกันเองในครอบครัว เกิดการเรียนรู้จดจำ ทำซ้ำ พัฒนา จนมีแบบแผน การนวดเป็นขั้นตอน มีองค์ความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติสืบทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น การนวดหัตถบำบัด ปัจจุบันได้รับการส่งเสริมให้เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของประชาชน
พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 บัญญัติคำว่าจรรยาบรรณแพทย์ ยึดแนวทางจริยศาสตร์ 3 ข้อ 1. จริยศาสตร์ตะวันตก หลักการทำความดีเป็นหน้าที่ของมนุษย์ หลักมหสุขยึดผลประโยชน์สูงสุดแก่คนหมู่มากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน การรักษาความลับของคนไข้ 2. จริยธรรมทางการแพทย์ของไทยมีความใกล้ชิดกับหลักคำสอนในพุทธศาสนา ในแพทยาลังการ กล่าวถึง คุณธรรม 12 ข้อของแพทย์ 3. พุทธจริยธรรม คือ หลักธรรมชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นสูง หลักธรรมอื่น เช่น ศีล 5 หิริ โอตัปปะ พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 โลกธรรม 8
จริยธรรมในหัตถบำบัด คือคุณค่าที่ดีงามที่ได้รักษาคนไข้ให้พ้นทุกข์ เมื่อคนพ้นทุกข์ความสุขก็บังเกิด เมื่อหายจากความเจ็บป่วย ความสุขใจดีใจก็ตามมา กายพ้นทุกข์จิตก็สบาย ศีล สมาธิ ปัญญาก็เกิดขึ้นได้โดยง่าย จริยธรรมในหัตถบำบัด คือ ความเมตตากรุณา การช่วยเหลือแบ่งปัน การอ่อนน้อมถ่อมตน ปัจจุบันหัตถบำบัดมีการจัดระเบียบ ควบคุมจริยธรรม มีการขึ้นทะเบียนรับรองวิชาชีพ มาตรฐานสถานประกอบการจากภาครัฐ

Article Details

บท
บทความวิจัย