วิเคราะห์ศาสตร์การแพทย์วิถีธรรมของ ดร.ใจเพชร กล้าจน

Main Article Content

ลักขณา แซ่โซ้ว
พูนชัย ปันธิยะ
วรางคณา ไตรยสุทธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักศาสตร์การแพทย์วิถี
ธรรมของ ดร.ใจเพชร กล้าจน ผลการวิจัย พบว่า
ศาสตร์การแพทย์วิถีธรรมของ ดร.ใจเพชร กล้าจน เป็นศาสตร์การแพทย์ แผนใหม่ของโลก มีจุดกําเนิดในประเทศไทย มีแนวคิดหลัก คือ การฝึกฝนปฏิบัติเพื่อ เข้าถึงสภาวะของความสุขอันสูงสุด คือ นิโรธ วิมุตติ นิพพาน ไปเป็นลําดับ ซึ่งตรงกับ เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา โดยมีแนวคิดย่อยตามหลักพุทธรรม คือ (1) ใจเป็น ประธานของสิ่งทั้งปวง (2) ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน (3) เหตุแห่งทุกข์คือตัณหา (ดับทุกข์ต้อง ดับที่ตัณหา) (4) ประหยัด เรียบง่าย (5) มีประโยชน์ ไม่มีโทษ (6) พิสูจน์ได้ด้วยตนเอง (7) เป็นจริงตลอดกาล (8) อนุเคราะห์เกื้อกูลโลก มีการอธิบายกลไกการเกิดการหาย ของโรคตามหลักพุทธศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์เชิงนามธรรม (Abstract Science) ที่ สอดคล้องเชื่อมโยงกับหลักวิทยาศาสตร์เชิงรูปธรรม (Physical Science) บูรณาการ ออกมาเป็นหลักปฏิบัติ 9 ข้อสู่สุขภาวะแห่งพุทธะ หรือยา 9 เม็ดของแพทย์วิถีธรรม ซึ่ง ผู้ป่วยจะต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีสโลแกน คือ “หมอที่ดีที่สุดในโลกคือตัวเราเอง” “ลดกิเลสรักษาโรค” “ศูนย์บาทรักษาทุกโรค" 


ผลของการปฏิบัติ คือ สามารถรักษาโรคได้จริง แม้แต่โรคที่หมดทางรักษา แล้ว (ผลขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของบุคคลนั้นๆ) และส่งผลให้คุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ ดีขึ้น อย่างเป็นองค์รวม ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ปัญญา เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตโดย รวม และด้านการพึ่งตน (ดับทุกข์ในตน, ดับตัณหาในตน) และช่วยคนให้พ้นทุกข์ (ภาวะ แห่งพุทธะ) เป็นการก่อเกิดของสังคมแห่งพุทธะหรือสังคมอริยะ

Article Details

บท
บทความวิจัย