คุณภาพของการบริการอิเล็กทรอนิกส์และการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของร้านอาหารในการเลือกใช้ระบบวงใน พีโอเอส ในเครือข่ายวงในของร้านอาหารในจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
คุณภาพของการบริการอิเล็กทรอนิกส์, การยอมรับเทคโนโลยี, การตัดสินใจ, วงใน พีโอเอส, ร้านอาหารนนทบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของการบริการอิเล็กทรอนิกส์ และการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของร้านอาหารในการเลือกใช้ระบบ Wongnai POS ในเครือข่าย Wongnai ของร้านอาหารในจังหวัดนนทบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ร้านอาหารในจังหวัดนนทบุรีที่ตัดสินใจเลือกใช้ระบบ Wongnai POS มาใช้ในการบริหารจัดการร้านอาหาร จำนวน 400 ร้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านคุณภาพของการบริการอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.42) โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าร้านอาหารมีการให้ความสำคัญด้านการบริการลูกค้ามากที่สุด ( = 4.46) รองลงมาคือ ด้านการออกแบบ ( = 4.44) และด้านความน่าเชื่อถือ ( = 4.41) ตามลำดับ และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.44) โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าร้านอาหารมีการให้ความสำคัญด้านการรับรู้ความง่าย ( = 4.45) มากกว่าด้านการรับรู้ประโยชน์ ( = 4.44)
References
กองบรรณาธิการ. (2563). New normal ของธุรกิจร้านอาหารในยุคโควิด 19. BOT พระสยาม Magazine, 43(3), 54-55.
นิคม ถนอมเสียง. (2550). เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง “การตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม.” มหาวิทยาลัยขอนแก่น. https://home.kku.ac.th/nikom/item_relia_validity_2007_u1.pdf
ปราณี หลําเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล: โครงการบริการวิชาการท่าสาบ โมเดล. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. http://edu.yru.ac.th/evaluate/attach/1465551003_เอกสารประกอบการอบรม.pdf
พรชัย ขันทะวงค์, ชัชชติภัช เดชจิรมณี, ทศพล อัครพงษ์ไพบูลย์ และจุฑามาส เอี่ยมจินดา. (2565). การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 1-17.
เมทินี จันทร์กระแจะ. (2558). คุณภาพของระบบสารสนเทศและการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เมธาวัณน์ จันทมุณี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการด้านการสั่งอาหารผ่านทาง Mobile application กรณีศึกษา: Line Man application [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วงในฟอร์บิสซิเนส. (2565ก, 2 มิถุนายน). Wongnai POS แคชเชียร์ร้านอาหารเพื่อยกระดับการบริหารร้านอย่างมืออาชีพ. Wongnai. https://www.wongnai.com/articles/intro-pos
วงในฟอร์บิสซิเนส. (2565ข, 9 กันยายน). ระบบจัดการร้านอาหาร POS คืออะไร?–ทุกสิ่งที่เจ้าของร้านต้องรู้. Wongnai. https://www.wongnai.com/business-owners/what-is-pos
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563, 2 มกราคม). ปี 2563 ธุรกิจร้านอาหารเผชิญกับโจทย์ท้าทายสูง และรูปแบบการแข่งขันที่เปลี่ยนไป คาดมีมูลค่า 4.37–4.41 แสนล้านบาท (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3067). https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3067.aspx
ส่วนประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ กองข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). บทวิเคราะห์ธุรกิจ: ธุรกิจน่าจับตามอง ปี 2563. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2563/T26/T26_202010.pdf
สุพริศร์ สุวรรณิก. (2564, 12 มิถุนายน). ธุรกิจร้านอาหาร… เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน! ธนาคารแห่งประเทศไทย. https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_12Jun2021.aspx
อดิลักษณ์ พุ่มอิ่ม และเพ็ญศิรินทร์ สุขสมกิจ. (2564). ส่วนผสมทางการตลาด คุณภาพบริการ และทัศนคติของผู้บริโภคในการใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 7(1), 49-64.
Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340. https://doi.org/10.2307/249008
Lee, G.-G., & Lin, H.-F. (2005). Customer perceptions of e-service quality in online shopping. International Journal of Retail & Distribution Management, 33(2), 161-176. https://doi.org/10.1108/09590550510581485
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper & Row.