Journal Information
เกี่ยวกับวารสาร
วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี
Journal of Academic Information and Technology (JAIT)
ประวัติวารสาร
วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี (Journal of Academic Information and Technology) ISSN 2730-2199 (Print), ISSN 2821-9414 (Online) ฉบับแรกตีพิมพ์เมื่อมิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยมีกำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ เป็นวารสารวิชาการเพื่อส่งเสริม เผยแพร่ความรู้ และเป็นสื่อกลางในการนำเสนอแนวคิดด้านสารสนเทศศาสตร์ สารสนเทศศึกษา บรรณารักษศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเทคโนโลยี และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพทางวิชาการเพื่อสังคม อีกทั้งตระหนักถึงความสำคัญของการขยายบทบาททางวิชาการต่อสังคม และการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งความรู้ที่มาจากผลงานวิจัยของอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ เกตุฉาย (ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในขณะนั้นจนถึงปัจจุบัน) เป็นบรรณาธิการวารสาร
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริม เผยแพร่ความรู้และแนวคิดด้านสารสนเทศศาสตร์ สารสนเทศศึกษา บรรณารักษศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเทคโนโลยี และสาขาอื่น ๆ ซึ่งเป็นวิทยาการและองค์ความรู้ร่วมสมัย
2. เพื่อเป็นสื่อในการนำเสนอและเผยแพร่ทางวิชาการด้านสารสนเทศศาสตร์ สารสนเทศศึกษา บรรณารักษศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเทคโนโลยี และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ขอบเขตบทความที่เปิดรับ
ด้านสารสนเทศศาสตร์ สารสนเทศศึกษา บรรณารักษศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเทคโนโลยี และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
ประเภทบทความที่เปิดรับ
ประเภทบทความที่รับมี 2 ประเภท ได้แก่
- บทความวิจัย (Research Article) หมายถึง งานเขียนที่นำเสนอผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ นำเสนอองค์ความรู้ใหม่ วิธีการใหม่ที่มีประโยชน์
- บทความวิชาการ (Academic Article) หมายถึง งานเขียนซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นองค์ความรู้ใหม่
กำหนดการออกวารสาร
การเผยแพร่บทความของวารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี (Journal of Academic Information and Technology) จัดทำเป็นรูปเล่ม หมายเลข ISSN 2730-2199 (Print), ISSN 2821-9414 (Online) เผยแพร่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์บนเว็บไซต์ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru
กำหนดออกเผยแพร่ราย 6 เดือน ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้
ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน
ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม
การพิจารณาคุณภาพของบทความ
วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี ได้มีการพิจารณาคุณภาพของบทความที่เข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ท่านต่อหนึ่งบทความ ซึ่งมีรูปแบบการกลั่นกรองบทความก่อนลงตีพิมพ์ (Peer Reviews) ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาบทความจะไม่ทราบชื่อผู้แต่ง/ผู้นิพนธ์ และผู้แต่ง/ผู้นิพนธ์จะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาบทความ (Double-Blind Peer Review)
จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
ใช้จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewers) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง 3 ท่าน ต่อบทความ และไม่อยู่ในสังกัดเดียวกันกับผู้เขียนบทความ เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณากลั่นกรองและประเมินบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะพิจารณาว่าบทความนั้น ควรได้ลงตีพิมพ์ (Accept) หรือควรจะส่งคืนให้ผู้เขียนแก้ไขเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง (Major/Minor Revision) หรือควรแจ้งปฏิเสธการลงตีพิมพ์ (Reject)
**วารสารได้เปลี่ยนจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Peer Review) จาก 2 คน เป็น 3 คน โดยเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 สำหรับบทความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป
นโยบายและเงื่อนไขในการพิจารณาบทความ
1. เป็นบทความอยู่ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในศาสตร์ด้านสารสนเทศศาสตร์ สารสนเทศศึกษา บรรณารักษศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการเทคโนโลยี
2. เป็นบทความที่มีการนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ วิธีการใหม่ หรือระบบใหม่
3. มีรูปแบบการพิมพ์ตรงตามรูปแบบของวารสาร
4. เป็นบทความที่ไม่มีการคัดลอกผลงาน
5. บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่วารสารใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
6. บทความที่ส่งมาจะได้รับการประเมินคุณภาพเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการก่อน โดยจะพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร โดยการพิจารณาแยกเป็น 2 กรณี คือ
6.1 ในกรณีที่บทความไม่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ บรรณาธิการจะแจ้งปฏิเสธการรับตีพิมพ์บทความ (Reject) พร้อมเหตุผล ข้อเสนอแนะ หรือข้อสังเกตสั้น ๆ ให้ผู้ส่งบทความได้รับทราบ
6.2 ในกรณีที่บทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ กองบรรณาธิการจะส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewers) ในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ท่านต่อหนึ่งบทความ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทความก่อนลงตีพิมพ์ โดยผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ (Double-Blind Peer Review)
6.3 เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณากลั่นกรองและประเมินบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะพิจารณาว่าบทความนั้น ควรได้ลงตีพิมพ์ (Accept) หรือควรจะส่งคืนให้ผู้เขียนแก้ไขเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง (Major/Minor Revision) หรือควรแจ้งปฏิเสธการลงตีพิมพ์ (Reject)
6.4 กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
การตรวจสอบคัดลอก
วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี (Journal of Academic Information and Technology) กำหนดเกณฑ์การตรวจสอบบทความซ้ำ/คัดลอก (duplications/plagiarism) ของบทความที่ส่งตีพิมพ์ในวารสาร โดยตรวจสอบจาก อักขราวิสุทธิ์ ได้ที่ http://plag.grad.chula.ac.th/ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องมีเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงโดยรวมที่ยอมรับได้ต่ำกว่า 25% และในส่วนที่มีความคล้ายคลึงจะต้องมีการอ้างอิงอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ
ขั้นตอนการดำเนินงานวารสาร
1. ผู้สนใจตีพิมพ์บทความวารสารให้ทำการลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์
2. ยื่นแบบฟอร์มส่งบทความผ่านเว็บไซต์
3. คัดเลือกบทความ/กรองบทความ (ภายใน 45 วัน) (ไม่ผ่านการคัดเลือก ให้ออกหนังสือปฏิเสธการตีพิมพ์)
4. คัดเลือกและทำหนังสือเชิญผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (ภายใน 7 วัน)
5. ประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (ภายใน 45 วัน) (ไม่เห็นชอบ ให้ออกหนังสือปฏิเสธการตีพิมพ์)
6. นักวิจัยแก้ไขบทความให้สมบูรณ์พร้อมส่งกลับมาที่ กองบรรณาธิการ (ภายใน 15 วัน ต่อครั้งที่ต้องแก้ไข)(ไม่แก้ไข ให้ออกหนังสือปฏิเสธการตีพิมพ์)
7. ตรวจสอบรูปแบบการพิมพ์ พิสูจน์อักษร และการเขียนอ้างอิง (หากมีแก้ไขส่งกลับให้ผู้เขียนแก้ไขภายใน 15 วัน ต่อครั้งที่ต้องแก้ไข)
8. ส่งแบบตอบรับเพื่อตีพิมพ์วารสาร (ภายใน 7 วัน)
9. กองบรรณาธิการตรวจสอบความเรียบร้อยของบทความ (ภายใน 7 วัน)
10. ออกแบบปกและจัดเตรียมต้นฉบับรูปเล่มวารสาร (ภายใน 30 วัน)
11. เผยแพร่วารสารฉบับสมบูรณ์ในเว็บไซต์ (ภายใน 14 วัน)
เจ้าของวารสาร
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สำนักงาน
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-1601155, 02-1601249
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru
ออกแบบปกโดย นางสาวอรทัย ลีใส