การศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางดิจิทัล, ทักษะการรู้ดิจิทัล, การจัดการเรียนรู้ทางดิจิทัลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางดิจิทัลของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางดิจิทัลของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยรูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถามงานวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 375 คน ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการจัดสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดการเรียนรู้ทางดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อดิจิทัล จำนวน 7 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการศึกษาระดับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางดิจิทัลของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 4 ด้าน พบว่าระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 3.85 ซึ่งอยู่ในระดับมาก 2) จากการศึกษาแนวทางในการพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางดิจิทัลของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาในเชิงคุณภาพทำให้ได้ผลลัพธ์เชิงนโยบายโดยการกำหนดแผนกลยุทธ์ตามองค์ประกอบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางดิจิทัลด้วยแผนเชิงปฏิบัติการใน 4 ด้านหลัก ดังนี้ 1) ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของมหาวิทยาลัย 2) ด้านการจัดหาและพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนการสอนและการศึกษาวิจัย 3) ด้านการจัดหาและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการศึกษา และ 4) ด้านการจัดหาและพัฒนาระบบการให้บริการด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยด้วยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)
References
คณะกรรมการจัดทําแผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล. (2563). แผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
คณะกรรมการจัดทําแผนพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล. (2563). แผนพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้าน ดิจิทัล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2567). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
คณะทำงานจัดทำแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ. (2563). แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570 ฉบับสมบูรณ์. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
ธิดา แซ่ชั้น. (2562). การพัฒนาแบบจําลองการเรียนการสอนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นพดล ผู้มีจรรยา และปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 4(1), 93-103.
พิสุทธิ์ ศรีจันทร์. (2563). การพัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สรญา เปรี้ยวประสิทธิ์ และสมถวิล วิจิตรวรรณา. (2564). การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางการศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาที่เอื้อต่อการเป็นสังคมการเรียนรู้ดิจิทัล. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 6(2), 75-84.
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัลสำหรับพลเมืองไทย. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สุทธินันท์ ชื่นชม, กัลยา ใจรักษ์ และอํานาจ โกวรรณ. (2564). รูปแบบการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 39(2), 16-33. https://doi.org/10.14456/jiskku.2021.8
Law, N., Woo, D., Torre, J., & Wong, G. (2018). A global framework of reference on digital literacy skills for indicator 4.4.2 (Information Paper No. 51). United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. http://uis.unesco.org/sites/default/files/documents/ip51-global-framework-reference-digital-literacy-skills-2018-en.pdf
New Prague Area Schools. (n.d.). Digital learning environment. https://www.npaschools.org/digital-learning-environment
Omarsaib, M., Rajkoomar, M., & Naicker, N. (2022). Digital pedagogies of academic librarians in the fourth industrial revolution. In T. M. Masenya (Ed.), Innovative technologies for enhancing knowledge access in academic libraries (pp. 247-270). IGI Global. https://doi.org/10.4018/978-1-6684-3364-5.ch015
Thoma, B., Turnquist, A., Zaver, F., Hall, A. K., & Chan, T. M. (2019). Communication, learning and assessment: Exploring the dimensions of the digital learning environment. Medical Teacher, 41(4), 385-390. https://doi.org/10.1080/0142159X.2019.1567911