การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อควบคุมคุณภาพปลานิลสำหรับการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา

ผู้แต่ง

  • วรรณี สุทธใจดี หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการซัพลายเชนธุรกิจ (ธุรกิจพาณิชยนาวี) วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสวนสุนันทา
  • ภัทรมน เรืองพรหม หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการซัพลายเชนธุรกิจ (ธุรกิจพาณิชยนาวี) วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสวนสุนันทา
  • บวรลักษณ์ เกื้อสุวรรณ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์, การดูแลควบคุมคุณภาพ, ปลานิล

บทคัดย่อ

          การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อควบคุมคุณภาพปลานิลสำหรับการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในเรื่องของการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อควบคุมคุณภาพปลานิลเพื่อการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการวิจัยรูปแบบผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงคุณภาพ และวิจัยเชิงปริมาณ คณะผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดูแลควบคุมคุณภาพปลานิลเพื่อการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกาตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) โดยใช้พื้นที่ทำการศึกษาที่ฟาร์มปลานิล T.P. Farm (ที.พี.ฟาร์ม) จังหวัดกาญจนบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ประชากรคือ ชุมชนหมู่บ้านคลองตัน ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ที่เป็นกลุ่มผู้เลี้ยงปลานิลจำนวน 600 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตาราง ของเครจซีและมอร์แกน ได้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 234 คน ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อควบคุมคุณภาพปลานิลสำหรับการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา มีคุณภาพด้านเนื้อหา สามารถเข้าถึงได้ง่ายในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 และผลการประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรและผู้ที่สนใจการเลี้ยงปลานิลหลังการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับดี ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.73 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.52 โดยผู้ที่ได้ศึกษามีความเห็นว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนวิธีการเลี้ยงปลานิลให้ได้มาตรฐานการส่งออก และเนื้อหาในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นประโยชน์และนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

References

กรมประมง. (2557). แผนภูมิขั้นตอนการส่งออกปลาแช่เย็น แช่แข็ง. สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20170221151216_file.pdf

กรมประมง, กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ. (2563). อำนาจหน้าที่. สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/ view_activities/1410/91675

เกวลิน หนูฤทธิ์. (2563). สถานการณ์การผลิตและการค้าปลานิลและผลิตภัณฑ์ในช่วง 3 เดือนแรก ปี 2563. สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/local/pic_activities/202005190832332_pic.pdf

ชนัญชิดา สุวรรณเลิศ. (2548). คู่มือปฏิบัติงานการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ e-book. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สำนักวิทยบริการ.

ณรงค์ กมลรัตน์. (2560). การศึกษารูปแบบการให้อาหารที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงปลานิลในกระชังแขวนในบ่อดิน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(3), 80-87.

ถาวร นุ่นละออง. (2550). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ศิรวัฒน์ สิงหโอภาส, กัลยาณี เจริญช่าง นุชมี และวัลลยา ธรรมอภิบาล อินทนิน. (2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(2), 79-91.

สมร พรชื่นชูวงศ์ และอาทิตย์ คูณศรีสุข. (2563). รายงานการวิจัยการพัฒนาระบบเติมอากาศและให้อาหารปลาอัตโนมัติสำหรับสมาร์ทฟาร์มเมอร์. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สาวินี องอาจ. (2562). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องงานบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(1), 84-92.

สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก. (2563). มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good aquaculture practice: GAP). สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_activities/16/80061

Gophen, M. (2017). Experimental study of the feeding habits of Tilapia zillii (Gervais) in Lake Kinneret. Open Journal of Modern Hydrology, 7(1), 1-10. doi:10.4236/ojmh.2017.71001

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28