ความรู้และความพร้อมของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองสำหรับการเข้าสู่มาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ของประเทศไทยในเขตพื้นที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองและศึกษาความพร้อมในการทำฟาร์มไก่พื้นเมืองอินทรีย์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองสำหรับการเข้าสู่มาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง ในพื้นที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบและแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง มีคะแนนเฉลี่ยที่ 16.43 คะแนน จากคะแนนเต็ม 21 คะแนน โดยมีผู้ได้คะแนนสูงสุด คือ 20 คะแนน ซึ่งมีจำนวน 6 คน และผู้ที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ 10 คะแนน ซึ่งมีจำนวน 1 คน (Min. = 10, Max. = 20, Mean = 16.43, S.D. = 2.65) ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับปศุสัตว์อินทรีย์ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 42.86) สำหรับผลการศึกษาเกี่ยวกับความพร้อมของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองสำหรับการเข้าสู่มาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ของประเทศไทย พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีความพร้อมสำหรับการเข้าสู่มาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ในระดับปานกลาง (Mean = 1.95, S.D. = 0.72) โดยพบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง มีความพร้อมในระดับมาก 1 หัวข้อ และมีความพร้อมในระดับน้อย 1 หัวข้อ จากทั้งหมด 10 หัวข้อ
References
กรมปศุสัตว์, กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์. (2562). คู่มือแผนปฎิบัติงานโครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ กิจกรรม: พัฒนาเกษตรอินทรีย์และตลาดสีเขียว แผนบูรณาการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค ประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ฌาน สมภักดี, ชนัญ ผลประไพ และธีระ สินเดชารักษ์. (2557). ความพร้อมและความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในเขตพื้นที่องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (ภาคเหนือ) สำหรับการเข้าสู่มาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ของประเทศไทย. Thai Journal of Science and Technology, 3(3), 182-195.
นิธินันท์ นาคบุรี, จารุณี เกษรพิกุล และสุรวัฒน์ ชลอสันติสกุล. (2563). การประเมินความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะด้านความรู้และการสนับสนุนจากภาครัฐในการทำฟาร์ม เขตพื้นที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. ใน เอกสารประกอบการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 16 ICE 2020 (หน้า 821-832). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, คณะศึกษาศาสตร์.
ลำพล ศรีดอนชัย และศศิเพ็ญ พวงสายใจ. (2561). การวิเคราะห์ศักยภาพของการผลิตไก่ประดู่หางดำ. สืบค้นจาก https://www.econ.cmu.ac.th/econ_paper/admin/files/paper/581632083/031%20ลำพล%20ศรีดอนชัย%20581632083.pdf
วิลาสินี ยิ้มแย้ม. (2559). ปศุสัตว์อินทรีย์ (71/2559). สืบค้นจาก http://secretary.dld.go.th/index.php/ informationdld/newsdld/1678-4-3-59
วุฒิชัย คำดี และภาณุพันธุ์ ประภาติกุล. (2562). เอกสารวิชาการ เรื่องที่ 1 ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการผลิตไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่เพื่อการค้า. สืบค้นจาก http://region5.dld.go.th/webnew/images/stories/2562/paper/pw109082562.pdf
สมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย. (ม.ป.ป.). อาหารเกษตรอินทรีย์. สืบค้นจาก https://actionforclimate. deqp.go.th/?p=6659
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี. (2556). ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ จังหวัดเพชรบุรี ปีงบประมาณ 2556. สืบค้นจาก http://pvlo-pbr.dld.go.th/webnew/images/phocadownload/dataanimal/data_chicken_56.pdf
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2548). มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกษ. 9000 เล่ม 2-2548: ปศุสัตว์อินทรีย์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สุดา มั่งมีดี. (2562). “เกษตรอินทรีย์” ขยายตัวต่อเนื่องในอาเซียน. สืบค้นจาก https://businesstoday.co/ cover-story/26/12/2019/เกษตรอินทรีย์/