การจัดการองค์ความรู้กระบวนการผลิตผ้าไหมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพิธีกรรมพื้นบ้าน จ.สุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบลวดลายและกระบวนการผลิตผ้าไหมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพิธีกรรมพื้นบ้าน จ.สุรินทร์ เริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบลวดลาย การนับลำลายกราฟ การมัดลาย การย้อมสี จนถึงกระบวนการทอเป็นผืน โดยใช้วิธีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านพิธีกรรมของ จ.สุรินทร์ จำนวน 5 คน ช่างทอผ้าไหม จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า พิธีกรรมของ จ.สุรินทร์มีหลากหลาย ในที่นี้ ผู้วิจัยได้เลือกพิธีกรรมมะม๊วดซึ่งเป็นพิธีกรรมที่มุ่งเน้นการคลายทุกข์โศก โรคภัย ซึ่งการแต่งกายเป็นแบบชาวกูย มีเครื่องเงินปะเกือมเป็นส่วนประกอบ โดยกระบวนการผลิตผ้าไหมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพิธีกรรมพื้นบ้าน จ.สุรินทร์ ในที่นี้คือ พิธีกรรมมะม๊วด มี 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การออกแบบลวดลายผ้าโดยได้รับแรงบันดาลใจจากพิธีกรรมพื้นบ้าน จ.สุรินทร์ 2) การเตรียมเส้นไหม โดยใช้อุปกรณ์ขึ้นลำ จำนวนลำหมี่จะขึ้นอยู่กับลายหมี่ จำนวน 28 ลำหรือ 58 ลำ และ 3) การย้อม ด้วยสีธรรมชาติ โดยมัดลายสีขาวตามกราฟเพื่อเก็บสีขาว จากนั้นนำไปย้อมสีแดงด้วยครั่ง มัดเก็บสีแดง ก่อนนำย้อมสีดำด้วยมะเกลือและโคลนจนดำสนิท 4) กระบวนการทอ เป็นผืนผ้าขนาด หน้ากว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร เส้นยืนสีดำย้อมสีเคมี เส้นพุ่งคือลายมัดหมี่ลายมะม๊วด ทอด้วยตะกอ 3 ตะกอ ผลการจัดการองค์ความรู้ เมื่อทอเป็นผืนผ้าสำเร็จแล้วได้รับรางวัลขนะเลิศ การประกวดการออกแบบลายผ้าในโครงการมหกรรมไหมโลกครั้งที่ 10 จัดโดยกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และจากนั้นมีการสั่งจองลวดลายผ้าไหมลายมะม๊วดมามากกว่า 40 ผืน ราคาผืนละ 3,500 บาท ทำให้ช่างทอผ้ามีรายได้รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกเพื่อสร้างสรรค์ผลงานการผลิตผ้าไหมให้ตรงกับแรงบันดาลใจ
Article Details
References
ฉวีวรรณ ปานชี จุฑามาส ศิริอังกูรวาณิช วราภรณ์ ภูริวรางกูร วิวัฒน์ จูวราหะวงศ์ อุไรวรรณ โชติวิท และอัญมณี ทองน้อย. (2548). รายงานการวิจัยและพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตการจัดดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาอาชีพทำขนมโบราณชุมชนกุฎีจีน แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. สำนักงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
ชุติมา เมฆวรรณ. (2549). การจัดการความรู้ของกลุ่มธุรกิจชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ด[วิทยานิพนธ์ปริญญาโท] มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญดี บุญญากิจ นงลักษณ์ ประสบสุขโชคชัย ดิสพงศ์ พรชนกนาถ และปรียวรรณ กรรณล้วน(2547). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
ประภากร สุคนธมณี. (2551). เรื่องราวความนุกสนานของการทอผ้าไหมมัดหมี่. ภาควิชาประยุกต์ศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฐานิศวร์ ฐิติกุลภิรมย์. (2553). การสร้างสรรค์ลายมัดหมี่ด้วยเครื่องมือเชิงกราฟิก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท] มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิทยา วิชาเรือง. (2543). ศักยภาพของสตรีในการดำเนินธุรกิจชุมชน กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านหนองแคน ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท] มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมชาย นำประเสริฐชัย. (2558). การจัดการความรู้. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วรรณดี สุทธินรากร. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและกระบวนการทางสำนึก. สยามปริทัศน์.
สุทธิพงศ์ จุลเจริญ. (2564, 25 มกราคม). ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯจุดประกายแห่งการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น. สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ.https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.2262.1.0.html
Phansuwan, W. (2010). A study of silk-cloth weaving development of the Mon-Khmer ethnic group in lower-Isan.Ph.D. in Cultural Science. Mahasarakham University.
Nonaka, I., & Takeuchi, H. (2011). The wise leader. Harvard business review, 89(5), 58-67.
Phansuwan, W. (2010). A study of silk-cloth weaving development of the Mon-Khmer ethnic group in lower-Isan.Ph.D. in Cultural Science. Mahasarakham University.
Wing, KM. (1999). The Inter Intelligent Enterprise and Knowledge Management. USA: Knowledge Research Institute, Inc.