แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Main Article Content

อัชชา หัทยานานนท์
เกศทิพย์ กรี่เงิน
กฤตพร ชูเส้ง
ศรัทธา แข่งเพ็ญแข
สุวดี ประดับ
ลักขณา จาตกานนท์
มัลลิกา จงจิตต์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย และเพื่อหาแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย เก็บข้อมูลความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนจากนักศึกษาปัจจุบันที่ลงทะเบียนในปีการศึกษา 2563 อาจารย์ประจำสาขาวิชา และศิษย์เก่า สุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจากผู้ยินดีให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามออนไลน์ 104 คน คำนวณความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาคได้ 0.980 วิพากษ์หลักสูตรจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว สรุปผลดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นศิษย์เก่า ร้อยละ 50.96 ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนด้านอาจารย์ผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.23 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าไม่แตกต่างกัน แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน (1) ด้านหลักสูตร เปลี่ยนชื่อหลักสูตร เพิ่มรายวิชาเลือก (2) ด้านอาจารย์ผู้สอน ใช้การสอนแบบ Team Teaching (3) ด้านเครื่องมือ อุปกรณ์การสอน จัดทำความร่วมมือกับสถานประกอบการ (4) ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ จัดหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร และ (5) ด้านอื่น ๆ เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ การร่วมมือกับศิษย์เก่า การจัดสรรทุนการศึกษา การศึกษาดูงานและการเรียนนอกสถานที่

Article Details

How to Cite
หัทยานานนท์ อ. . ., กรี่เงิน เ. ., ชูเส้ง ก. ., แข่งเพ็ญแข ศ. ., ประดับ ส. ., จาตกานนท์ ล., & จงจิตต์ ม. (2022). แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 4(1), 76–92. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/81
บท
บทความวิจัย

References

กีรติ ยศยิ่งยง. (2549). การวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. มิสเตอร์ก๊อปปี้.

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. (2560). เอกสารหลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560). คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2557. (6 มีนาคม 2558). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 52 ง.

พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้:พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. เอ็กซเปอร์เน็ต.

มนตรี นามวงค์ และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2560). การบริหารความสัมพันธ์กับศิษย์เก่าของสำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 23(3), 159-178.

ยิ่งศักดิ์ เพชรนิล. (2558). รายงานการวิจัย เรื่อง ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประจำปี 2558. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 169-176.

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2544). การพัฒนาการเรียนการสอนทางการอุดมศึกษา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภกฤต พริ้วไธสง. (2561). การสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ วิชาการประยุกต์ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(27), 79-84.

สรชัย พิศาลยบุตร. (2549). สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ทำได้ง่ายนิดเดียว. บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 (พิมพ์ครั้งที่ 5). ภาพพิมพ์.

สำนักวิชาการและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. (2556). คู่มือกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พ.ศ. 2556). มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

อธิมาตร เพิ่มพูน, วันชัย สุขตาม และจิรายุ ทรัพย์สิน. (2563). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 43-56.

Joyce, B. and Weil, M. (2003). Models of Teaching. 5th ed. Prentice-Hall of India Private Limited.

Research and Markets. (2022, February 3). Global Online Education Market (2022 to 2027) -by User-type, Provider, Technology and Region. https://www.globenewswire.com/en/news-release/2022/02/03/2378224/28124/en/Global-Online-Education-Market-2022-to-2027-by-User-type-Provider-Technology-and-Region.html