การประดิษฐ์พานเครื่องทองน้อยจากดินปั้นโสนหางไก่ด้วยเทคนิคกระแหนะลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสูตรดินปั้นโสนหางไก่ที่ใช้ในการประดิษฐ์พานเครื่องทองน้อยจากดินปั้นโสนหางไก่ด้วยเทคนิคการกระแหนะลาย 2) ออกแบบลวดลายพานเครื่องทองน้อยจากดินปั้นโสนหางไก่ด้วยเทคนิคการกระแหนะลาย และ3) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการประดิษฐ์พานเครื่องทองน้อยจากดินปั้นโสนหางไก่ด้วยเทคนิคการกระแหนะลาย โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากนั้นข้อมูลที่ได้ถูกนำมาพัฒนาสูตรดินปั้นและออกแบบภาพร่างความคิดลวดลายส่วนประกอบพานเครื่องทองน้อย 3 แบบร่าง ซึ่งถูกนำไปเสนอแก่ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เลือกสูตรดินและลวดลายของพานเครื่องทองน้อย รวมถึงคำถามอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์ที่ถูกคัดเลือกได้ถูกนำไปสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลที่ได้พบว่า ผู้เชี่ยวชาญเลือกสูตรดินปั้นสูตรที่ 1 เนื่องจากเนื้อดินมีความละเอียด นุ่ม ยืดหยุ่น อีกทั้งเห็นลวดลายได้ชัดเจนเมื่อทำการกดลาย ส่วนลวดลายของพานแบบที่ 1 เพราะลวดลายมีความประณีต สวยงามลงตัว ส่วนลวดลายของพุ่มดอกไม้แบบที่ 1 เพราะลวดลายไม่ซับซ้อนและมีความละเอียดที่เหมาะสมกับขนาดของตัวพุ่ม ลวดลายของพานรองพุ่มแบบที่ 2 เพราะลวดลายของพานมีความสวยงาม และควรเป็นลวดลายที่มาจากสำรับเดียวกัน และจากผลข้างต้นชุดพานเครื่องทองน้อยควรมีการลงสีใช้วิธีการปิดทอง ผลของความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการประดิษฐ์พานเครื่องทองน้อยจากดินปั้นโสนหางไก่ด้วยเทคนิคการกระแหนะลาย พบว่า ด้านวัสดุ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านคุณค่าและประโยชน์ใช้สอย และด้านความเหมาะสมของวัสดุ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดทุกด้าน
Article Details
References
กนกวรรณ กันทะกัน สุภา จุฬคุปต์ และสุทัศนีย์ บุญโญภาส. (2558, 25-26 มิถุนายน).
การพัฒนาดินปั้นเถ้าแกลบสำหรับประดิษฐ์. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 35 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา, ประเทศไทย.
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2561). ศาสนพิธีและมารยาทไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3).โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กรีทากร แสงสกุล. (2555). หัตถกรรมดินไทย : กรณีศึกษางานหัตถกรรมดินไทย OTOP ในเขตจังหวัดสมุทรสงคราม นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. สาขาวิชาศิลปศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฐปนัท แก้วปาน สราวุธ อิศรานุวัฒน์ และจริยา แผลงนอก. (2563). หลักการและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22 (2), 161-182.
ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ, สาริกา จันทิมา, และสุพรรณวดี เลิศสพุง. (2564) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 3 (2), 27-41.
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน). (2565, 10 กันยายน 2565). งานศิลปหัตถกรรมประเภทลงรักปิดทอง. https://shorturl.asia/FbYsZ
สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. (2564). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เรื่องการทําดอกไม้ประดิษฐ์จากต้นโสนหางไก่. สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล, อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์, และสริดา จารุศรีกมล. (2562, 26 เมษายน). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดินปั้นจากกากมะตูม [เอกสารนำเสนอ]. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจําปี 2562, ปทุมธานี, ประเทศไทย.