กระเป๋ามาลัยลายคราม : วัฒนธรรมคุณค่าสู่มูลค่าของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์

Main Article Content

สุชีรา ผ่องใส
เมลดา สุดาเดช
กุสุมา นาวาทอง

บทคัดย่อ

ลายครามที่ปรากฏบนเครื่องลายครามนี้มีความสำคัญต่อการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบอกยุคสมัย และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มคนไทยและจีน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลายครามเพื่อการออกแบบกระเป๋ามาลัยเชิงสร้างสรรค์ และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋ามาลัยลายครามของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสอบถามผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน สำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งสิ้น จำนวน 50 คน นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ลายครามเพื่อการออกแบบกระเป๋ามาลัยเชิงสร้างสรรค์ ผู้เชี่ยวชาญเลือกกระเป๋ารูปแบบมาลัยชายเดียวลายดอกโบตั๋น และการสร้างรูปแบบแท็ก QR Code ที่ปรากฏข้อมูลสถานที่เกี่ยวกับประวัติเครื่องลายครามในเกาะรัตนโกสินทร์ ส่วนความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการออกแบบกระเป๋ามาลัยลายคราม : วัฒนธรรมคุณค่าสู่มูลค่าของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์ ความพึงพอใจด้านผลิตภัณฑ์ ด้านความเหมาะสมของวัสดุ ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านราคา ด้านช่องทางและสถานที่จัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 4.64, 4.64, 4.62, 4.71, 4.70 และ 4.83 ตามลำดับ กระเป๋ามาลัยลายคราม : วัฒนธรรมคุณค่าสู่มูลค่าของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์ จึงเป็นการออกแบบของที่ระลึกที่เชื่อมโยงกับสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เพื่อการวางแผนสู่การส่งเสริมและการเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยาณมิตร นรรัตน์พุทธิ. (2562,26 มิถุนายน). วัฒนธรรมคุณค่าสู่มูลค่า. วัฒนธรรม. http://article.culture.go.th/index.php/template-features/137-2019-07-02-06-14-35.

ขจีพรรณ ศิริสมบัติยืนยง และศักดา ศรีผา. (2555). การออกแบบกระเป๋าสตรีแบบ 4 in 1. [โครงงานพิเศษปริญญาตรี]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ฉัตรดาว ลีเชวงวงศ์. (2561). การเมืองในราชสำนักฝ่ายใน สมัยรัชกาลที่ 5. มติชน.

ชลดา รัชตะพงษ์ธร. (2555). การศึกษาเรื่องอัตลักษณ์ลวดลายเครื่องลายครามไทย. คณะศิลปกรรมศาสตร์. ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณรงค์กร ทองหมื่น และภัทราภร พิบูลย์สวัสดิ์. (2560). การประดิษฐ์มาลัยชำร่วยจากแกนต้นมันสำปะหลังด้วยเทคนิคการติด. [โครงงานพิเศษปริญญาตรี]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ณัฐวุฒิ บุญมาตย์ และวิษณุ บุญชุตน. (2562). การศึกษาและสร้าง QR Code ในการรายงานผลการผลิตเข้าสู่สโตร์สินค้าสำเร็จรูป. [โครงงานพิเศษปริญญาตรี]. วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ทวิธาร วรินทราศรม. (2550). เครื่องกังไสลายคราม. พี.วาทิน.

นาทนาม ไวยหงษ์. (2562,26 มิถุนายน). 'มาลัยเงิน' ของที่ระลึกล้ำค่าสะท้อนความเป็นไทยในเวทีการประชุมสุด ยอดผู้นำอาเซียน. VOGUE THAILAND. https://www.vogue.co.th/fashion/article/malaisilver

บัณฑิต จุลาสัย และรัชดา โชติพานิช. (2561,10 มิถุนายน). นามถนนในพระราชวังดุสิตที่เปลี่ยนไป. มติชนออนไลน์ https://www.matichon.co.th/columnists/news_989676.

ไพศาล กาญจนวงศ์ และอาบทิพย์ กาญจนวงศ์. (2560, มกราคม – มิถุนายน). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดสองมิติเพื่อบริการข้อมูลให้นักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา วัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหารเชียงใหม่. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 9(17), 120-134.

ภุชชงค์ จันทวิช. (2551). เครื่องลายคราม. เมืองโบราณ.

วรัญญู แก้วกัลยา และจิรัสย์ ศิรศิริรัศม์. (2560). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในเกาะรัตนโกสินทร์. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 13(2), 201-215

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2562,26 มิถุนายน). การเข้าเฝ้า ร.5 ของสตรีพระราชสำนักฝ่ายใน ทำกันอย่างไร ใครทำหน้าที่อะไรบ้าง. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/history/article_39522.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2554). โบราณคดีเครื่องในสยาม แหล่งเตาล้านนาและสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ : โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2556). องค์ความรู้ว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คู่มือและแนวทางปฏิบัติ. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวภัทร ศรีจองแสง. (2561). การพัฒนาสินค้าของที่ระลึกทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบากชุม ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยวและบริการ. คณะศิลปศาสตร์. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช. (2553). ลวดลายกับการกำหนดอายุไหลายครามสมัยราชวงศ์หยวนที่พบในประเทศ.ไทย. ดำรงวิชาการ. 9(1), 117-132.