การออกแบบเสื้อผ้าบุรุษ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมเมืองเก่าสงขลา

Main Article Content

ติณณา อุดม
วุฒิชัย ลิ่มเกิดสุขวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเสื้อผ้าบุรุษโดยได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมเมืองเก่าสงขลา และศึกษาความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการออกแบบ โดยมีวิธีการดำเนินงาน 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การออกแบบเสื้อผ้าบุรุษ ระยะที่ 2 สอบถามความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการออกแบบ ระยะที่ 3 ดำเนินการตัดเย็บชุดสูทบุรุษ ระยะที่ 4 สอบถามความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการออกแบบ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มนักศึกษาเพศชาย สาขาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการออกแบบเสื้อผ้าบุรุษจำนวน 5 รูปแบบ และให้ผู้เชี่ยวชาญเลือก 1 รูปแบบ เพื่อใช้ในการตัดเย็บชุดผลิตภัณฑ์ต้นแบบ นำแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 30 ชุด มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่าผลการคัดเลือกแบบร่างชุดที่ออกแบบที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญคือ รูปแบบร่างที่ 2 เสื้อโค้ทตัวยาว (Overcoat) ผลการศึกษาความพึงพอใจผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการออกแบบเสื้อผ้าบุรุษโดยได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมเมืองเก่าสงขลา พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.58 เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ และด้านประโยชน์ใช้สอย มีค่าเฉลี่ย 4.51 และ 4.64 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกชา ลาวงษา. (2560). การพัฒนาลวดลายผ้าฝ้ายด้วยเทคนิคการทอแบบมัดหมี่สำหรับเสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวลด้วยวิธีการตัดต่อ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

จีระภา สุวรรณโน. (2558). การออกแบบเครื่องแต่งกายบุรุษโดยได้รับแรงบัลดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมชิโนยูโรเปียน บนถนนนางงาม จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

เจียมจิต เผือกศรี. (2546). การออกแบบเสื้อผ้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

ชนัญชิดา ต๊ะแปงปัน, ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์ และธีรนพ หวังศิลปคุณ. (2559, 29 เมษายน). การตัดเจาะเพื่อนำไปสู่การออกแบบเครื่องแต่งกาย [การนำเสนอภาคโปสเตอร์]. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2559, มหาวิทยาลัยรังสิต.

ฐปนัท แก้วปาน (2563) หลักการและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 22(2), 162-182.

บัญชา เตส่วน. (2561). การสร้างความหมายของผู้ชายเมโทรเซ็กส์ชวลในนิตยาสาร Attitude.วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 14(2), 33-61.

ประเสริฐ พิชยะสุนทร. (2556). พื้นฐานการออกแบบ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนิสา มุนิเมธี และเก็ตถวา บุญปราการ. (2556, 10 พฤษภาคม 2556). พื้นที่ย่านเมืองเก่าสงขลา: การทำสถาปัตยกรรมให้กลายเป็นสินค้าภายใต้บริบทการท่องเที่ยว. [เอกสารนำเสนอ]งานประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4, สงขลา, ประเทศไทย.

สุภาวดี เชื้อพราหมณ์. (2556). ตึกแถวผลผลิตทางกายภาพและวัฒนธรรมในชุมชนเมืองเก่า จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท] มหาวิทยาลัยศิลปากร.