แผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ : กรณีศึกษาแป้งขนมไข่ปลากึ่งสำเร็จรูป

Main Article Content

กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์
กัญญานัส แก้วรักษา
ตวัน พุทธายะ
ฐานพัฒน์ ผ่องสุริยชัย

บทคัดย่อ

ขนมไข่ปลาที่มีส่วนผสมของแป้งข้าว เนื้อลูกตาลสุก และมะพร้าวขูด เป็นขนมไทยพื้นบ้านที่มีรูปทรงเป็นเอกลักษณ์และหาบริโภคได้ยาก เพื่อสืบทอดอนุรักษ์ขนมไข่ปลาไม่ให้สูญหาย รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต จึงมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แป้งขนมไข่ปลากึ่งสำเร็จรูป เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นกรอบแนวความคิด ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เป็นเครื่องมือในสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่ม คือ ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และผู้เชี่ยวชาญ และนำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีการเชิงบรรยาย ผลการศึกษา พบว่า ผู้ประกอบการเห็นว่าควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความแปลกใหม่และเพิ่มระยะเวลาการเก็บรักษาด้วยบรรจุภัณฑ์ที่มีสองชั้น คือ ชั้นในเป็นถุงพลาสติก และชั้นนอกเป็นกล่องกระดาษ หากมีการจัดจำหน่ายควรมีปริมาณ 150-200 กรัม ราคา 70-150 บาท ส่วนผู้บริโภคเห็นว่า ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความแปลกใหม่ น่าสนใจ และเข้าถึงได้ง่าย ด้านบรรจุภัณฑ์มีความเห็นเหมือนผู้ประกอบการ ราคาขาย 60-100 บาท ต่อแป้งกึ่งสำเร็จรูป 500 กรัม จำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้า ช่องทางการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีการส่งเสริมการขาย เช่น เพิ่มปริมาณ ซื้อ 1 แถม 1 หรือโฆษณาโดยบุคคลที่มีชื่อเสียง และผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า แนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจมีความเป็นไปได้ ราคาเหมาะสมกับปริมาณ การจัดจำหน่ายควรใช้ระบบตัวแทนจำหน่าย เพราะเป็นสินค้าเจาะจงซื้อ ดังนั้นแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมไข่ปลากึ่งสำเร็จรูปมีขั้นตอนดังนี้`คือ ศึกษากรรมวิธีการผลิตขนมไข่ปลากึ่งสำเร็จรูป อายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ และการศึกษายอมรับของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์ขนมไข่ปลาที่ทำมาจากแป้งกึ่งสำเร็จรูป

Article Details

How to Cite
ชนะสิทธิ์ ก., แก้วรักษา ก. ., พุทธายะ ต. . ., & ผ่องสุริยชัย ฐ. . . (2022). แผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ : กรณีศึกษาแป้งขนมไข่ปลากึ่งสำเร็จรูป. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 4(2), 15–27. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/623
บท
บทความวิจัย

References

จรีวรรณ จันทร์คง, เกศสุดา สิทธิสันติกุล, นิโรจน์ สินณรงค์, และกฤตวิทย์ อัจฉริยะพานิชกุล. (2562). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย11(1), 54-66.

ชไมพร เพ็งมาก และสุธาสินี ศรีวิไล. (2554). การพัฒนาขนมไทยจากแป้งตาลโตนด. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ, 5(1), 93-105.

ธวัช นุสนธรา. (2564). บรรจุภัณฑ์พลาสติกกับคุณภาพอาหารโอทอป. สรรสาระกรมวิทยาศาสตร์บริการ,62(196), 35-37.

นพวรรณ ชีวอารี. (2555). การวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์หมูแปรรูปเพื่อส่งเสริมการขายกรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์หมูแปรรูปในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปลาหมึกชุบแป้งทอด. (2563, 25 ธันวาคม). ขนมไข่ปลาทำเอง : เกาะเกร็ด. trueid.https://food.trueid.net/detail/pbvnLN42Dgnb.

รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมการเกษตร (พิมพ์ครั้งที่ 4) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และศุภร เสรีรัตน์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. ธรรมสาร.

ศศิธร อยู่เล็ก. (ม.ป.ป.). พฤติกรรมการเลือกซื้อขนมไทย ของคนวัยทำงาน ในเขตลาดกระบัง. ru.ac.th. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin8/6114154054.pdf

สิริปรียา แสงทอง และธีระวัฒน์ จันทึก. (2560, 7-9 สิงหาคม). การศึกษาและการสืบสานการวิธีทำขนมไทยไข่ปลาสูตรโบราณของวัยรุ่นที่สืบทอดมาจากผู้สูงอายุ. [การนำเสนอ] การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 “ราชมงคลสร้างสรรค์กับนวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0”, นนทบุรี, ประเทศไทย.

หอมกลิ่นไทย. (2561, 24 กันยายน). ขนมไทย ความหอมหวานที่คงอยู่เหนือกาลเวลา.homglinthai.com. https://homglinthai.com/ขนมไทย-ความหอมหวานที่คง/.

Positioning. (2005, 11 สิงหาคม). อาหารกึ่งสำเร็จรูป : แนวโน้มขยายตัว ... สอดรับพฤติกรรมผู้บริโภครัดเข็มขัด. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. Positioning.https://www. https://positioningmag.com/24308

Shreyasi Ghose. (2015). New Product Planning Process (7 Phases). Yourarticlelibrary.com. https://www.New Product Planning Process (7 Phases) (yourarticlelibrary.com)