การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกชุดโคมไฟจากเส้นใยรกมะขาม จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

สุนันทา รัตนทอง
กฤษณา เกตุคำ

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการออกแบบชุดโคมไฟของที่ระลึกจากเส้นใยรกมะขามและสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดโคมไฟของที่ระลึกจากเส้นใยรกมะขาม สำหรับจังหวัดเพชรบูรณ์ เริ่มจากการสำรวจความต้องการการออกแบบชุดโคมไฟของที่ระลึกจากเส้นใยรกมะขามของกลุ่มนักท่องเที่ยว นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบได้ 4 รูปแบบ ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินรูปแบบ ในด้านรูปแบบและความสวยงาม ด้านลักษณะเฉพาะ และด้านคุณค่าและประโยชน์การใช้งาน มีสรุปค่าความคิดเห็นเฉลี่ยรวมในทุกด้านแบบที่ 2 มีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 4.68 นำมาสร้างชุดโคมไฟของที่ระลึกจากเส้นใยรกมะขาม ประเมินผลความพึงพอใจของกลุ่มนักท่องเที่ยวจำนวน 100 คนที่มีต่อชุดโคมไฟของที่ระลึกจากเส้นใยรกมะขามสำหรับจังหวัดเพชรบูรณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน มีค่าคะแนนเฉลี่ย  4.65 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

How to Cite
รัตนทอง ส., & เกตุคำ ก. (2025). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกชุดโคมไฟจากเส้นใยรกมะขาม จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 7(1), 16–27. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/5233
บท
บทความวิจัย

References

เนตรนภา อาตวงษ์. (2564). การส่งเสริมการแปรรูปมะขามของเกษตรกรในอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น, สำนักพิมพ์สุวิริยาสาส์น.

วุฒิชัย วิถาทานัง. (2559). การศึกษาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสาน ประเภทผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ของตกแต่งและเครื่องเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 107-119.

สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์. (2562, 10 กรกฎาคม). ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว. https://www.phetchabun.go.th/data_detail.php?content_id=50.

สโรชา ถึงสุข. (2564). วิจัยและพัฒนามะขามหวานเพชรบูรณ์, กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม: กรมวิชาการเกษตร.

สวราชย์ เพ็ชรโยธา. (2565). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกประเภทโคมไฟจากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุดเครื่องแต่งกายโนรา [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โสภา วิศิษฏ์ศักดิ์. (2559, เมษายน 4). หน้าต่างกรองแสงจากรกมะขาม. https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=25185.

อมลณัฐ ฉัตรตระกูล. (2555). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ของมะขาม(รายงานวิจัย). ทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2554.

อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์, พีรพงษ์ หนูแดง, พัสวี ศรีษะมน และชนาพร จันทร์สมัคร. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดโคมไฟจักสานจากใบลาน. วารสารราชพฤกษ์, 16(1), 139-148.

Bhadoriya, S. S., Ganeshpurkar, A., Narwaria, J., Rai, G., & Jain, A. P. (2011). Tamarindus indica: Extent of explored potential. Pharmacognosy reviews, 5(9), 73.-81.

Kumar, C. S., & Bhattacharya, S. (2008). Tamarind seed: Properties, processing and utilization. Critical Reviews in Food Science and Nutrition, 48(1), 1-20.