การออกแบบและสร้างสรรค์เครื่องประดับกลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋าจากกระป๋องอะลูมิเนียม

Main Article Content

สุชีรา ผ่องใส
พรศักดิ์ ข้อยี่แซ่
สุทธาวรรณ คำสงวน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบและสร้างสรรค์การประดิษฐ์เครื่องประดับกลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋าจากกระป๋องอะลูมิเนียม และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน และการสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋าในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 25 คน และกลุ่มสตรีวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 15 - 59 ปี จำนวน 25 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบเครื่องประดับจากกระป๋องอะลูมิเนียมได้แรงบันดาลใจในการประดิษฐ์เครื่องประดับจากกลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋าประกอบด้วยฮั่วก๋วนหรือมงกุฎที่มีลักษณะเป็นดอกไม้ไหวชุดโกรสังหรือเข็มกลัดติดเสื้อ และอ่องโบหรือต่างหู ประกอบกับการสร้างสรรค์เครื่องประดับให้แต่ละชิ้นสามารถถอดแยกชิ้นประกอบใหม่ได้ โดยมงกุฎสามารถสลับเป็นสร้อยคอ เข็มกลัดติดเสื้อสามารถเพิ่มชิ้นส่วนเป็นปิ่นปักผม และต่างหูสามารถถอดแยกชิ้นเป็นแหวน ส่วนความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ กลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋าในจังหวัดภูเก็ตมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (4.10) มากกว่ากลุ่มสตรีวัยทำงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (4.04) ด้านความเหมาะสมของวัสดุ กลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋าในจังหวัดภูเก็ตมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.25) มากกว่ากลุ่มสตรีวัยทำงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (4.11) ด้านประโยชน์ใช้สอย กลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋าในจังหวัดภูเก็ตมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.28) น้อยกว่ากลุ่มสตรีวัยทำงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.32) ด้านราคา กลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋าในจังหวัดภูเก็ตมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (3.29) น้อยกว่ากลุ่มสตรีวัยทำงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (3.44) ด้านสถานที่จัดจำหน่าย กลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋าในจังหวัดภูเก็ตมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.33) น้อยกว่ากลุ่มสตรีวัยทำงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.46) และด้านการจัดจำหน่าย กลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋าในจังหวัดภูเก็ตมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (4.16) น้อยกว่ากลุ่มสตรีวัยทำงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.34) การออกแบบและสร้างสรรค์เครื่องประดับกลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋าจากกระป๋องอะลูมิเนียม จึงเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องประดับสตรีที่เพิ่มจุดเด่นของเครื่องประดับด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้มีความหลากหลายและแตกต่างจากเครื่องประดับทั่วไป อีกทั้งเป็นการสืบทอดและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋าที่ทรงคุณค่าให้คงอยู่กับวัฒนธรรมไทยสืบไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2562. ปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.mnre.go.th/th/, 18 ธันวาคม 2562.

กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases 19 ธันวาคม 2562.

ณัฎศรา หมั่นเกตุ และจันทร์ธิมาพร นครสูงเนิน. 2561. การประดิษฐ์เครื่องประดับจากเปลือกกุ้งขาว. ปริญญาตรี สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ณัฐวดี จันทร์โกมล และนิธิกร แว่นแก้ว. 2561. การประดิษฐ์เครื่องประดับจากเศษผ้าหม้อห้อม. ปริญญาตรี สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ปนัดดา ใหญ่มีศักดิ์ และดุลย์ถนัตถ เกิดไพโรจน์์. 2557. การศึกษาภาพ 2 มิติจากกระป๋องอะลูมิเนียมด้วยเทคนิคการ ม้วน. ปริญญาตรี สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

พัฒนศักด์ ทองทิพย์. 2556. “พานพุ่มจากกระป๋องน้ำอัดลมด้วยเทคนิคการดุนลาย”. ปริญญาตรี สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ฤดี ภูมิถาวร. 2553. วิวาห์บาบ๋าภูเก็ต. กรุงเทพฯ : เวิลด์ออฟเซ็ท พริ๊นติ้ง.

มานพ แวงสุข. 2556. “เครื่องแขวนแบบไทยประยุกต์จากกระป๋องน้ำอัดลมด้วยเทคนิคการดุนลาย”. ปริญญาตรี สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

เมริษา จิ๋วประดิษฐกุล, สุวิทย์ รัตนานันท์ และ Sridhar Ryalie. 2562. การสังเคราะห์ความแตกต่างของวัสดุเพื่อสร้างสรรค์เครื่องประดับ. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติครั้งที่ 14 ปี การศึกษา 2562. หน้า 395 - 412.

วิกรม กรุงแก้ว. 2558. รายงานการวิจัยเรื่องเทคนิค วิธีการ และแนวทางอนุรักษ์ทรงผมชักอิโบย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

วิกรม กรุงแก้ว. 2560. พัสตราภรณ์ยอนหยา. กรุงเทพฯ : บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.

สาวิตร พงศ์วัชร์. 2556. รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมการแต่งกายชาวไทยเชื้อสายจีนที่ส่งผลสู่งานสร้างสรรค์กรณีศึกษาพิธีวิวาห์บาบ๋าเพอรานากันจังหวัดภูเก็ต. คณะมนุษยศาสตร์

และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2562. ปริมาณขยะมูลฝอย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.nesdc.go.th/main.php?filename=index, 18 ธันวาคม 2562.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases 19 ธันวาคม 2562.

อติชาติ สมบัติ. 2557. วัฒนธรรมการแต่งกายชุดย่าหยาและรองเท้าปักสตรี อำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร .

อติยศ สวรรคบุรานุรักษ์ และศศณัฏฐ์ สวรรคบุรานุรักษ์.2561. เปอรานากัน : บาบ๋า -ย่าหยา มรดกทางวัฒนธรรมสายเลือดลูกผสมมลายู-จีน. สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

D.I.Y. โคมไฟตั้งโต๊ะ ประดิษฐ์จากฝากระป๋องอะลูมิเนียม. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก www.banidea.com/, 18 ธันวาคม 2562.