ลวดลายและรูปแบบผ้าทอลาวครั่ง

Main Article Content

ชุติมา ชวลิตมณเฑียร
สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ
วัลภา แต้มทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะลวดลาย รูปแบบและสีสันของผ้าทอ ลาวครั่ง กลุ่มตัวอย่าง คือชาวลาวครั่ง อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท และอำเภอบ้านไร่ จังหวัด อุทัยธานี จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การบันทึกเสียงและบันทึกภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ


ผลการวิจัย พบว่าลวดลายผ้าทอลาวครั่ง มีเทคนิคการทอ 3 วิธี คือการทอจก การทอ มัดหมีและการทอชิด ลวดลายส่วนใหญ่ได้แรงบันดาลใจจากสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ความเชื่อและจินตนาการ ลวดลายการจกแบ่งออกเป็นลวดลายจากธรรมชาติ ได้แก่ กลุ่มลายกาบ กลุ่มลายสัตว์ กลุ่มลายพืชและดอกไม้ และลวดลายสิ่งของเครื่องใช้ ลวดลายการ มัดหมี่ ได้แก่ ลวดลายสัตว์ และลวดลายสิ่งของเครื่องใช้ ลวดลายการขิด ได้แก่ ลายพลัวหมาก หวาย รูปแบบของผ้าทอลาวครั่งแบ่งออกเป็น 1) เครื่องแต่งกาย ได้แก่ ผ้าซิน ประกอบด้วยหัว ชิ้น ตัวซินและฝันซิน มีเอกลักษณ์เฉพาะคือตัวซินเป็นผ้ามัดหมีและตื่นซินเป็นผ้าทอจก นอกจากนี้ยังมีเสื้อกั๊กและเสื้อจุบหม้อ เย็บประกอบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายโดยการเย็บมือด้วย ตะเข็บคู่พับริม เย็บตกแต่งตะเข็บด้วยด้ายสีแดงที่ย้อมจากครั้งโดยใช้การเย็บเดินเส้นและการ เย็บพันริม 2) เคหะสิ่งทอ ได้แก่ หมอนขวาน หมอนหน้าวัวหรือหมอนท้าว หมอนหก ผ้าห่ม ผ้า ปูที่นอน และผ้าหน้ากุ้ง ทำจากผ้าทอจิดและทอจก โดยมีการจัดวางตำแหน่งลวดลายการทอ สำหรับเคหะสิ่งทอแต่ละรูปแบบโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่ใช้ในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน ลวดลาย ที่ใช้จะสือความหมายถึง การใช้ชีวิตคู่ที่ประสบความสำเร็จ สีที่ใช้ในการทอผ้าให้เกิดลวดลายมี 6 สี ได้แก่ สีแดง สีแสดหรือสีส้มหมากสุก สีเขียว สีเหลือง สีดำและสีขาว

Article Details

How to Cite
ชวลิตมณเฑียร ช. ., ไกรสุวรรณ ส. ., & แต้มทอง ว. . (2022). ลวดลายและรูปแบบผ้าทอลาวครั่ง. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 1(2), 35–45. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/4381
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (ม.ป.ป.). ผ้าทอไทครั้ง. จาก http://ich.culture.go.th/index.php/th/ ich/traditional-craftsmanship/242-cloths/373-m-s.

แก้วกุดั่น. (2557). ผ้าทอไทยครั้ง บ้านทัพหลวง อุทัยธานี. สกุลไทยออนไลน์, 934. จาก https:// www.sakulthaionline.com/node/12639

ดารณี บุณยประสพ. (บรรณาธิการ). (2543). ลวดลายและลีสันบนผ้าทอพื้นเมือง. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

ทรงพล ด่วนเทศ. (2555), การศึกษาภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองของคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท และอุทัยธานี. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, คณะศึกษาศาสตร์. สืบค้นจาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/ Art_Ed/Songphol_1.pdf

สุธีลักษณ์ โกรสุวรรณ, ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ และอบเชย วงศ์ทอง. (2553), เสื้อผ้าชนเผ่าไทย: คุณภาพของเสื้อผ้าไทดำ มังน้ำเงิน กระเหรี่ยง เย้าและมูเซอดำ. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 53(2), 5-17

องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี. (2548). เอกสารชุดแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาเมืองอุทัยธานี ผ้าทอลายโบราณบ้านไร่. อุทัยธานี: นงลักษณ์การพิมพ์