วุ้นโภชนาการพลังงานสูง

Main Article Content

ลัดดาวัลย์ กลิ่นมาลัย
วรัชพล บริบูรณ์ธนกุล
สัพปัญญา สุวรรณวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาตารับที่เหมาะสมสาหรับวุ้นโภชนาการพลังงานสูง มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาตารับอาหารเสริมที่มีพลังงานและคุณค่าทางโภชนาการสูงสาหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีภาวะเบื่ออาหาร หรือผู้บริโภคทั่วไปที่ไม่มีเวลารับประทานอาหาร 2) ได้รับสารอาหารและพลังงานเพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ และป้องกันภาวะทุพโภชนาการที่อาจเกิดกับผู้บริโภค 3) ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของวุ้นโภชนาการพลังงานสูงให้สอดคล้องต่อความต้องการพลังงาน และสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการ ระเบียบวิธีวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง ศึกษาจากเอกสาร แนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) แล้วนาไปประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสในด้านลักษณะโดยใช้ผู้ทดสอบจานวน 80 คน เป็นนักศึกษาสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร


ผลจากการศึกษาพบว่า ตารับวุ้นโภชนาการพลังงานสูงโดยปรับมาจากอาหารทางสายให้อาหารผ่านการยอมรับจากผู้ทดสอบ ตารับโกโก้เป็นตารับที่ได้รับคะแนนจากผู้ชิมมากที่สุด และพบว่าคุณค่าทางโภชนาการของวุ้นโภชนาการพลังงานสูงที่ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 96.74 กิโลแคลอรี่ สารอาหารประเภทโปรตีน 4.97 กรัม คาร์โบไฮเดรต 13.05 กรัม และไขมัน 2.74 กรัม สามารถนาไปใช้เป็นอาหารเสริมหรือทดแทนในผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการหรือผู้สูงอายุที่ประสบกับภาวะเบื่ออาหารให้ได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร วรรณสอน. (ม.ป.ป.). วุ้น. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

จริยา เดชกุญชร. (2549). วุ้น. กรุงเทพฯ: เพชรการเรือน.

ปรีดา เหตระกูล. (2559). ขนมไทยรวมเล่ม 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แม่บ้าน.

ยอดยิ่ง ถาวรไทย. (2548). ตำรับอร่อยของหวานไทย. กรุงเทพฯ: แอ๊ปป้า.

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตโชติเวช. (2546). ขนมไทย. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์.

สุวรรณา ศรีรอด. (2543). วุ้น. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

ห้างหุ้นส่วนจำกัด พัฒนาสินเอ็นเตอร์ไพรส์. (2546). ผงวุ้นตรานางเงือก. กรุงเทพฯ: .ม.ป.ท.