ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการให้บริการของภัตตาคาร เชียงการีลา สาขาเยาวราช

Main Article Content

จอมขวัญ สุวรรณรักษ์
กมลลักษณ์ นาคแสง
นิศาชล คงเหล็ก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มาใช้บริการภัตตาคารเชียงการีลา สาขาเยาวราช ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการให้บริการของภัตตาคารเชียงการีลา สาขาเยาวราช และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการให้บริการของภัตตาคารเชียงการีลา สาขาเยาวราช จาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการภัตตาคารเชียงการีลา สาขาเยาวราช เฉพาะคนไทย จานวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ ค่า F-test
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการภัตตาคารเชียงการีลา สาขาเยาวราช ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 25 ปี ไม่เกิน 35 ปี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีสถานภาพสมรส และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้บริการภัตตาคารเชียงการีลา สาขาเยาวราช พบว่า เหตุผลที่ใช้บริการ คือ พบปะครอบครัวเพื่อนฝูง ช่วงเวลาที่มาใช้บริการ คือ 13.01 - 16.00 น. จานวนเงินที่ใช้ในแต่ละครั้ง 1,000 – 2,000 บาท การตัดสินใจเลือกอาหารที่รับประทานส่วนใหญ่ เลือกจากเมนูอาหาร ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ คือ เพื่อน ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการเลือกที่จะกลับมาใช้บริการซ้า และความถี่ในการใช้บริการ คือ ไม่แน่ใจ ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการให้บริการของภัตตาคารเชียงการีลา สาขาเยาวราช โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการให้บริการของภัตตาคารเชียงการีลา สาขาเยาวราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศมีผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการของภัตตาคารเชียงการีลา สาขาเยาวราช ส่วนอายุ พบว่า ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านลักษณะทางกายภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อาชีพ พบว่า ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านลักษณะทางกายภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สถานภาพ พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย และด้านบุคลากร แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนพบว่า ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย และด้านลักษณะทางกายภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


 

Article Details

How to Cite
สุวรรณรักษ์ จ. ., นาคแสง ก. ., & คงเหล็ก น. . (2022). ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการให้บริการของภัตตาคาร เชียงการีลา สาขาเยาวราช. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 1(1), 43–54. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/4370
บท
บทความวิจัย

References

จอมขวัญ สุวรรณรักษ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการภัตตาคารครัว การบินไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชาริณี เดชจินดา. (2535). ทฤษฎีการแสวงหาความพึงพอใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เชียงการีลา กรุ๊ป. (2560). ภัตตาคารเชียงการีลา. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2560, จาก http://shangarilagroup.com/.

ดรุณี โอวจริยาพิทักษ์. (2549). ธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ประพัชร์ ศิริวงศ์รังสรร. (2558). การบริการอาหารและเครื่องดื่ม. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560, จาก http://narairestaurantservice.blogspot.com/.

ปิยะ คำขุรี. (2555). ระบบร้านอาหาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2560, จาก https://sites.google. com/site/lakit53/ngan-thi-1.

พจนานุกรมไทยฉบับทันสมัยและสมบูรณ์. (2552). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ภัครส แซ่จุง. (2550). การดำเนินธุรกิจของภัตตาคาร. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

เมญารัศมิ์ เกษร. (2559). พฤติกรรมการใช้บริการและความพึงพอใจในการใช้บริการร้านอาหาร นิกุยะ เจแปนนิส บาร์บีคิว บุฟเฟ่ต์ที่ห้างสรรพสินค้าซีคอน สาขาบางแค กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

รุจิพร เจริญศรี. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: แมคเอ็ดดูเคชั่น.

วิทวัส มังคลาด. (2560). สัมภาษณ์. 12 ตุลาคม 2560

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สมิต สัชฌุกร. (2548). ศิลปการให้บริการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). กลยุทธ์การตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

Domingo, R.S. (2001). Customers expectations factors in restaurants The situation in Spain. International Journal of quality & Reliability Management.

Lin, Su-Mei. (2017, 28 October). Marketing mix (7P) and performance assessment of western fast food industry in Taiwan: An application by associating DEMATEL and ANP. African Journal of Business Management. 26 (October 2011): 10634-10644 Available from: http://www.academicjournals.org/AJBM 10634-10644

Philip Kotler. (2547). การจัดการการตลาด (Marketing Management). แปลโดย ธนวรรณ แสงสุวรรณ และคณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.