การสื่อสารอัตลักษณ์ขนมไทย เพื่อส่งเสริมศักยภาพด้านการตลาด กรณีศึกษาร้านจันทร์วนัสขนมไทย และร้านย่าแหม่มขนมไทย จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพการณ์ด้านการสื่อสารอัตลักษณ์ของผู้ประกอบการขนมไทย 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารอัตลักษณ์ขนมไทย 3) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมด้านการสื่อสารอัตลักษณ์ขนมไทย กรณีศึกษาร้านจันทร์วนัสขนมไทย และร้านย่าแหม่มขนมไทย จังหวัดนนทบุรี การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิทยาแบบกรณีศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้ประกอบการขนมไทยมีวิธีการสื่อสารอัตลักษณ์ขนมไทย ได้แก่ การสื่อสารถึงประสบการณ์ความเชี่ยวชาญการทำขนมไทย การสื่อสารทางการตลาดด้วยการตั้งชื่อร้านจากตำนาน การสื่อสารด้วยวิธีนำเสนอความเป็นขนมไทยจากการคัดสรรวัตถุดิบที่เป็นของไทย 2) ปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารอัตลักษณ์ขนมไทย พบว่า ผู้ประกอบการยังขาดความรู้ด้านการโฆษณา
การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การตลาดทางตรง และการตลาดเชิงกิจกรรม 3) แนวทางส่งเสริมการสื่อสารอัตลักษณ์ขนมไทยให้ผู้ประกอบการมีความรู้ด้านการผลิตสื่อดิจิทัล การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ และออกแบบตราสินค้าของตนเอง นอกจากนี้การใช้กลุ่มคนที่มีอิทธิพลมาช่วยสื่อสารการตลาดด้านการโฆษณารวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐบาลเกี่ยวกับ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยด้วยส่งเสริมการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ขนมไทยในอนาคตสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
Article Details
References
กัญญ์ญาณัฐ จึงพัฒนา และธวมินทร์ เครือโสม. (2564). ทัศนคติและแนวทางการพัฒนาขนมไทยในประเทศสิงค์โปร์. วารสารบริหารศาสตร์, 11(1), 1-17.
กัลยารัตน์ พันกลั่น. (2560). การสื่อสารทางการตลาดด้านการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่อขนมไทยของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นในกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น. [การค้นคว้าอิสระ มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชาย โพธิสิตา. (2564). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิซซิ่ง จำกัด.
ชำนาญ ปาณาวงษ์. (2563). ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นพรัตน์ บุญเพียรผล และบุษริน วงศ์วิวัฒนา. (2564). การจัดการขนมไทยพื้นบ้านโบราณเพื่อ ธุรกิจจำหน่ายของที่ระลึก จังหวัดเพชรบุรี. วารสารด้านการบริหารธุรกิจและการเมือง, 10(2), 62-75.
พิเชษฐ เนตรสว่าง และฉัตรชัย นิยะบุญ. (2564). การสืบทอดภูมิปัญญาในการทำขนมไทย (ทองหยอด ฝอยทอง และเม็ดขนุน) เพื่อพัฒนาเป็นธุรกิจของกลุ่มแม่บ้าน ชุมชนบ้านจีน ตำบลวัดยม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 14(1), 87-101.
วิศนันท์ อุปรมัย และประภาศรี พงศ์ธนาพานิช. (2566). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลสำหรับร้านขนมไทยในยุคปกติวิถีใหม่. วารสารเกษมบัณฑิต, 24(1), 1-17.
ศศิพรรณ บิลมาโนชญ์ และบัญชา ชลพิทักษ์. (2565). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดกับนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ขนมไทย. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 21(1), 241-251.
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2565, 1 พฤษภาคม). ตลาดขนมหวานจากน้ำตาลในประเทศไทย. NFI. https://fic.nfi.or.th/market-intelligence- detail.php?smid=366
สมศักดิ์ อมรชัยนนท์ และเสาวนีย์ สมันต์ตรีพร. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อขนมไทย ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 16-34.
สำนักงานแรงงาน จังหวัดนนทบุรี. (2566, 24 กรกฎาคม). การท่องเที่ยวจังหวัดนนทบุรี. https://nonthaburi.mol.go.th
สุรชา บุญรักษา. (2558). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าขนมไทยในจังหวัดสมุทรสาคร ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารวิทยาการจัดการ, 2(1), 112-126.
อบเชย วงศ์ทอง. (2562). ขนมไทยหลากหลายมิติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อภิญญา มานะโรจน์. (2565). วิชาขนมไทย [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
Cohen, M. Z., Kahn, D. L., & Steeves, R. H. (2000). Hermeneutic phenomenological research: A practical guide for nurse researchers. Sage Publications.
Kongim, J., Smathanares, B., Wacharajit, S., & Rattakorn, A. (2020). Marketing adjustment strategies to support marketing 4.00 of Thai desserts in Nonthaburi Province. Doctorate of Social Sciences Journal, 10(1), 15-29.
Stake, R. E. (2005). Qualitative Case Studies. In N. K. Denzin & Y. S. Lincoln (Eds.), The Sage handbook of qualitative research (3rd ed., pp. 443–466). Sage Publications Ltd.
Yin, R. K. (2011). Applications of case study research. Sage Publications, Inc.