การประยุกต์ลวดลายจากอัตลักษณ์เสื้อผ้าชนเผ่าไทดำเพื่อออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่

Main Article Content

จตุรนต์ สว่างแสง
สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ
ชุติมา ชวลิตมณเฑียร
ศศิประภา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่จากอัตลักษณ์ลวดลายเสื้อผ้าชนเผ่าไทดำ และศึกษาความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อลวดลายผ้ามัดหมี่ที่ออกแบบโดยใช้โปรแกรมวาดภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ adobe illustrator วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่จากอัตลักษณ์ลวดลายเสื้อผ้าชนเผ่าไทดำ มี 3 ลวดลาย คือ ลายดอกแปดลายดอกจันทน์ และลายบ่แล้ว การจัดองค์ประกอบลวดลาย 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 การจัดองค์ประกอบแบบอสมมาตร (asymmetrical balance) รูปแบบที่ 2 การจัดองค์ประกอบแบบใช้จังหวะ (rhythm) และรูปแบบที่ 3 การจัดองค์ประกอบดั้งเดิมแบบลวดลายเต็มผืน รวมผ้ามัดหมี่ทั้งหมด 9 ผืน ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อผ้ามัดหมี่ลวดลายอัตลักษณ์เสื้อผ้าชนเผ่าไทดำ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นด้วยกับลายดอกจันทน์ และลายดอกแปด ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.24 และค่าเฉลี่ย 4.22 ตามลำดับ) และลายบ่แล้วในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.18) และความคิดเห็นต่อการจัดองค์ประกอบลวดลาย พบว่า รูปแบบที่ 1 ได้รับความคิดเห็นด้วยในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.29) รูปแบบที่ 3 และรูปแบบที่ 2 ได้รับความคิดเห็นด้วยในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.18 และค่าเฉลี่ย 4.17 ตามลำดับ)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2539). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(1), 64-70.

บุญยงค์ เกศเทศ. (2554). “ไทดา” เมืองแถง “ทรงดา” ถิ่นสยาม จากหนองแฮด ถึง หนองปรง. สำนักพิมพ์อินทนิล.

ภูมินทร์ แสนเจริญสุข และภัทรธิรา ผลงาม. (2562). การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอในกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านกุดดู่ จังหวัดหนองบัวลำภู. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 25(1), 187-202.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2562, 10 ตุลาคม). ทฤษฎีสี. http://courseware.npru.ac.th/admin/files/20191122162133_3f08aefcfb1381819c1704f390f2fb01.pdf

มหาวิทยาลัยศิลปากร โครงการพัฒนาผ้าพื้นเมืองในทุกจังหวัดทั่วประเทศเพื่อส่งเสริมการผลิตและการส่งออก. (2544). ผ้าพื้นเมืองการสำรวจผู้ผลิตทั่วประเทศ. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วสันต์ พึ่งพูนผล. (2558). Professional Guide Illustrator CC คู่มือฉบับสมบูรณ์. บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.

สมบัติ สมัครสมาน, สุพัตรา วะยะลุน, สุรเชษฐ์ วรศรี และอภิชัย ไพรสินธุ์. (2563). การออกแบบลวดลายผ้าไหมปูมโบราณแนวคิดสร้างสรรค์จากศิลปกรรมขอมโบราณให้กับชุมชนกลุ่มผ้าไหมทอมือจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 13(1), 62-72.

สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ และขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ. (2553). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง เทคนิคและลวดลายการตกแต่งเสื้อผ้าไทดำ. โครงการทุนวิจัยด้านผ้าไทย พ.ศ.2552 มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน.

สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ และขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ. (2555). เทคนิคและลวดลายการตกแต่งเสื้อผ้าไทดำ. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 33(3), 345-355.

สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ. (2557). การตัดเย็บเสื้อผ้าชนเผ่าไทย. สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

CARMERART (2017, 12 มิถุนายน). Composition EP.2.2 Principles of Composition (Balance). https://www.camerartmagazine.com/techniques/com-po-si-tion/7421.html