การศึกษาวัฒนธรรมและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในพื้นที่ ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในพื้นที่ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่อาศัยแนวคิดจากปรัชญาปรากฏการณ์วิทยาในการศึกษาปรากฏการณ์และประสบการณ์ของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ตำบลวัฒนานครเกิน 10 ปี และมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป จำนวน 15 คน ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่เป็นทั้งสังคมเมืองและสังคมชนบท มีวัตถุดิบที่สามารถนำมาประกอบอาหารที่หาได้ในธรรมชาติและหาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป มีตัวเลือกในการใช้วัตถุดิบที่หลากหลาย รสชาติของอาหารที่นิยมในพื้นที่เป็นรสชาติเผ็ดจัดจ้าน และมีการนำวัตถุดิบมาประกอบอาหารด้วยการปรุงสุกด้วยการต้ม แกง ทอด และนึ่ง ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารท้องถิ่นของประชาชนในพื้นที่วัฒนานครคือ การตั้งถิ่นฐานและสุขภาพของประชากร เพราะมีความหลากหลายของประชากรทั้งคนในพื้นที่ตั้งแต่กำเนิดและมีการย้ายถิ่นฐานมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาอาศัยอยู่ในพื้นที่เพื่อมาประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม การค้าขาย การสร้างครอบครัว หรือการย้ายถิ่นฐานด้วยเหตุผลอื่น ซึ่งความหลากหลายนี้ก่อให้เกิดความแปรผันของทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นและรูปแบบการบริโภคอาหารตามลักษณะเฉพาะและทรัพยากรของพื้นที่อยู่อาศัย
Article Details
References
กติกา กลิ่นจันทร์แดง และศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารด้วยอัตลักษณ์ของอาหารท้องถิ่น, วารสารชุมชนวิจัย, 15(3), 144-157.
กนกวรรณ สาโรจน์วงศ์. (2560). ความนิยมในการบริโภคอาหารท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดตราด [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
จีรนุช เกลี้ยงสงค์. (2562). พฤติกรรมการบริโภคปลาน้ำจืดของผู้บริโภคในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
จำเนียร จวงตระกูล, วอนชนก ไชยสุนทร, ตระกูล จิตวัฒนากร, เทอดศักดิ์ โรจน์สุรกิตติ, สมิตากลิ่นพงศ์ และรุจิรา ริคารมย์. (2564). ทางเลือกใหม่ในการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพจากข้อมูลการสนทนากลุ่มแบบออนไลน์. สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย, 3(6), 1-18.
ฉวีวรรณ สุวรรณาภา, อรอนงค์ วูวงศ์ และเสริมศิลป์ สุภเมธีสกุล. (2560). อาหารพื้นบ้าน: กระบวนการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคมในชุมชนภาคเหนือ [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่.
ฐิติมา มีช้าง, นัทยา ขยอมดอก และเลิศลักษณ์ ด้วงบาง. (2562). ภูมิปัญญาอาหารชาติพันธุ์ลาว บ้านหันทราย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. https://www.skcc.ac.th/project/5etsnic/Focus%20group%20%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7.pdf
ผกาวดี ภู่จันทร์ และโสรัจวรชุม อินเกต. (2559). สำรับอาหารพื้นถิ่นเมืองพิษณุโลก. กระแสวัฒนธรรม, 17(32), 3-16.
วสุนธรา รตโนภาส และตรรกพร สุขเกษม. (2565). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 16(1), 58-65.
สานิตย์ หนูนิล และกนกวรา พวงประยงค์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ในชนบทไทย. วารสารพัฒนาสังคม, 21(2). 176 – 195.
สุภางค์ จันทวานิช. (2559). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ativanichayapong, N. (2014). Livelihood of People in Rural Isan: changes over the past decade. [in Thai]. Journal of Sociology and Anthropology, 33(2), 103-127.
Sala, S., McLaren, S. J., Notarnicola, B., Saouter, E., & Sonesson, U. (2017). In quest of reducing the environmental impacts of food production and consumption. Journal of cleaner production, 140, 387-398.
Schnittker, R., Marshall, S., Horberry, T., & Young, K. L. (2018). Human factors enablers and barriers for successful airway management–an in‐depth interview study. Anaesthesia, 73(8), 980-989.
Vermeir, I., Weijters, B., De Houwer, J., Geuens, M., Slabbinck, H., Spruyt, A., Van Kerchove, A., Van Lippevelde, W., De Steur, H., & Verbeke, W. (2020). Environmentally sustainable food consumption: A review and research agenda from a goal- directed perspective. Frontiers in Psychology, 11, 1603.