การถ่ายทอดองค์ความรู้ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมสไตล์ชิโบริของวิสาหกิจชุมชน ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

พิมพ์จุฑา พิกุลทอง
กิ่งกาญจน์ พิจักขณา
อุทัยวรรณ ประสงค์เงิน
ทินวงษ์ รักอิสสระกุล
วีระภัทร์ กระหม่อมทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการจากฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบลวดลายผ้ามัดย้อมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมสไตล์ชิโบริ2) ถ่ายทอดองค์ความรู้ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมสไตล์ชิโบริ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มสตรีบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากผลการฝึกอบรมเชิงปฏฺบัติการแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มตัวอย่าง ผลการสำรวจความต้องการจากชุมชนเป้าหมายด้วยการสัมภาษณ์ พบว่าวิสาหกิจชุมชนบางเสาธง มีผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นผ้ามัดย้อมที่มีอัตลักษณ์และสามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึกของชุมชนได้ ผู้วิจัยจึงได้ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กลุ่มเป้าหมายในการออกแบบลวดลายผ้ามัดย้อมสไตล์ชิโบริ 3 ลาย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้ 4 ชนิด ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องประดับตามสมัยนิยม และผ้าตกแต่งบ้าน จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบพบว่าความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ด้านประเภทผลิตภัณฑ์ เทคนิคการมัดลาย ความสวยงามของลวดลายมัดย้อม และความทนทานในการใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด และผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อมสไตล์ชิโบริ 4 ชนิด และหลักสูตรการถ่ายทอดองค์ความรู้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมสีครามธรรมชาติสไตล์ชิโบรินำไปสู่การเพิ่มมูลค่าและสร้างสรรค์รูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอัตลักษณ์เฉพาะของชุมชนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนกนาถ มะยูโซ๊ะ. (2555). ศิลปะการออกแบบลวดลายผ้าด้วยการมัดย้อมสีจากธรรมชาติ: ศึกษาเฉพาะ ประเภท รูปแบบเทคนิคและกระบวนการออกแบบลวดลายด้วยการมัดย้อมผ้า การสกัดสีย้อมจากธรรมชาติ. รายงานวิจัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ชุติมา งามพิพัฒน์. (2561). การออกแบบลวดลายเทคนิคการมัดย้อม และย้อมด้วยสีจากธรรมชาติ กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนมัธยมปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และสร้างสรรค์, 6(1), 246-265.

ทองเจือ เขียดทอง. (2558). การออกแบบเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารวิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์: ราชมงคลธัญบุรี, 2(1), 55-79.

ธิดาพร โชคนทีสกุล, ทศพร ฟองคำ, สุวิชัย มาเยอะ และพรพิมล คันธะโฮม. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม ชุมชนบ้านกองงาม ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารข่วงผญา, 16(2), 1-11.

นวลน้อย บุญวงษ์. (2542). หลักการออกแบบ (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มนัส จันทร์พวง, วิยะณี ดังก้อง, ปาริฉัตร กุลเกลี้ยง, สุภาพร ธนะขว้าง, ณัฐกมล บัวบาน, และเอกภพ นิลพัฒน์. (2563). การพัฒนาผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากใบสัก ชุมชนบ้านแม่พวก ตําบลห้วยไร่ อําเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 8(1), 250-262.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.

ประภากร สุคนธมณี. (2560). สีสันจากพันธุ์พฤกษา (Color of Flora). วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 37(3), 183-202.

พิกุล ตุ้ยศักดิ์ดา และพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์. (2554). ภูมิปัญญาในการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 4(2), 87-111.

มุขสุดา ทองกําพร้า, อรอนงค์ วรรณวงษ์, เกศทิพย์ กรี่เงิน และอัชชา หัทยานานนท์. (2563). การออกแบบเสื้อผ้าชุดลําลองยูนิเซ็กส์จากผ้าพลีทสําหรับวัยรุ่น. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2(2), 84-96.

โยธิน จี้กังวาฬ. (2564). การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น.

ลัดดา บุตรเลียง. (2566, 15 พฤษภาคม). โครงการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ บีบ รัด มัด ย้อม ศิลปะการออกแบบลวดลายผ้าด้วยสี สังเคราะห์. https://sites.google.com/site/phamadyxm/work-0

ศรินญา ตรีจันทปกรณ์. (2563). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจผ้าย้อมครามในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนคร. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศรุดา กันทะวงค์. (2566, 15 พฤษภาคม). มัดย้อมครามสไตล์ชิโบริ. ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน. https://www.matichonacademy.com/course/ชิโบริย้อมครามสไตล์ญ

ศศธร ศรีทองกุล และสาวิตรี อัครมาส. (2556). มัดย้อม. สำนักพิมพ์เอ็มไอเอส.

อ้อยใจ เลิศล้ำ ชฎาพร จันทร์พันธ์ สุภาพร ตาไข อารยา อติโรจน์ และรวินพัทธ์ กีรติพัฒน์ธำรง. (2566). การพัฒนาเสื้อผ้าลำลองสำเร็จรูปจากผ้ามัดย้อม กรณีศึกษา แบรนด์ อินดี้ บลู. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 66(1), 19–36.

อัจฉรี จันทมูล. (2561). การออกแบบและแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมเชิงสร้างสรรค์.สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน. https://rinac.msu.ac.th/th/ข่าวบริการวิชาการ/ผ้ามัดย้อมเชิงสร้างสรร.html

Narongwit, P. & Saengchanthai, A. (2019). Product Development of Phra Din Cultural Souvenirs for Nakhon Chum Amulet Making Learning Center, Kamphaeng Phet Province. Journal of Academic Arts Research and creative work. 6(1), 218-245.