ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของบุคลากรคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Main Article Content

มะยม นิสัยตรง
ญาฌิฐา ตรีสงฆ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของบุคลากรคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประชากรที่ใช้ คือ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนจำนวน 130 คน โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 97 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-35 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาโท และปฏิบัติหน้าที่สายวิชาการ มีระดับความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติในการปฏิบัติงานด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมอยู่ในระดับการรับรู้มาก (x̅=4.33 และ 4.27 ตามลำดับ) มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง (x̅=3.30) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โดยจำแนกตามสายงาน พบว่าการปฏิบัติงานด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานสายวิชาการและสายสนับสนุนไม่มีความแตกต่างด้านความรู้ความเข้าใจ และด้านทัศนคติ (p>0.05) แต่ด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมีความแตกต่างกัน (p≤0.05) ส่วนผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์กับประสบการณ์การทำงานไม่แตกต่างกัน (p>0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

งานบุคลากรคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2564). https://aaf.hec.rmutp.ac.th/

ธัญวรัตน์ กระจ่าง. (2557). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 2(2), 37-45.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2565). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ Amos (พิมพ์ครั้งที่ 18). เอส อาร์ พรินติ้ง แมสโปรดักส์.

ปรภาส์ คงเกษมภิบาล และปานปั้น รองหานาม. (2566) การศึกษาเปรียบเทียบการใช้งานระบบสารบรรณเดิมกับระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กรณีศึกษา เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(8), 601-615.

วรรณภรณ์ รัตนโกสุม. (2564). การศึกษาทัศนคติ สภาพปัญหาและพฤติกรรมการใช้งานในการรับ-ส่งหนังสือราชการด้วยระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Office) ของบุคลากร คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วาสนา จันทร์ดี, ชลัยรัตน์ จิรชัยเชาวนนท์ และพสิษฐ์ โภณพงศ์พัฒน์. (2558). กลยุทธ์การบริหารจัดการงานสารบรรณมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

วิโรจน์ ยิ้มขลิบ และปิยวรรณ สีเชียง. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจสำหรับการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สารภี สหะวิริยะ. (2562). ปัญหาการใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-document) ของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.