แนวทางการพัฒนาของที่ระลึกประเภทแฮนดิคราฟท์สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ ชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บทคัดย่อ

Main Article Content

ฐาปกรณ์ ทองคำนุช
เบญจพร เชื้อผึ้ง
พิยดา แสงท่านั่ง
รุ่งไพลิน เจริญสุข
สมบัติ ไตรเกตุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทยในการเลือกซื้อของที่ระลึกประเภทแฮนดิคราฟท์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) เพื่อสร้างแนวทางพัฒนาของที่ระลึกประเภทแฮนดิคราฟท์สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทยในการเลือกซื้อของที่ระลึกประเภทงานแฮนดิคราฟท์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทยจำนวน 400 คน โดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีช่วงอายุระหว่าง 55-65 ปีมีการศึกษาระดับมัธยมปลาย/ปวช. ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัท มีรายได้ 10,001-20,000 บาทและเคยเดินทางมาท่องเที่ยวมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อของที่ระลึกประเภทแฮนดิคราฟท์อยู่ในระดับมาก โดยหัวข้อของที่ระลึกใช้ประดับตกแต่งมีความสวยงามมีผลประเมินความพึงพอใจสูงที่สุด รองลงมาคือของที่ระลึกใช้งานได้จริง ซึ่งสามารถนำมาวางแผนเพื่อยกระดับของที่ระลึกประเภทแฮนดิคราฟท์ได้แก่ การวางแผนการผลิตการออกแบบ และควบคุมราคา โดยอาศัยปัจจัยทางการตลาด ต้นทุนสินค้า แหล่งจัดจำหน่ายและการควบคุมคุณภาพเพื่อควบคุมสินค้าของฝากและของที่ระลึกให้เป็นสินค้าสร้างรายได้แก่ชุมชนและผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวต่อไป

Article Details

How to Cite
ทองคำนุช ฐ. ., เชื้อผึ้ง เ. ., แสงท่านั่ง พ. ., เจริญสุข ร., & ไตรเกตุ ส. . (2024). แนวทางการพัฒนาของที่ระลึกประเภทแฮนดิคราฟท์สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ ชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา: บทคัดย่อ. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 6(2), 86–98. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/3157
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566, 23 มกราคม). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศรายจังหวัด ปี 2566 (Domestic Tourism Statistics Classify by region and province 2023). Ministry of Tourism & Sports. https://mots.go.th/news/category/657

กำธร แจ่มจำรัส, นันทนิธิ์ เอิบอิ่ม, ญาณิศา เผื่อนเพาะ และฤดี เสริมชยุต. (2565). การยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกของแหล่งท่องเที่ยวสัมผัสเสน่ห์วิถีชีวิตเมืองกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปการจัดการ, 6(3), 1585-1603.

กิติยา คีรีวงก์, วรรณวิสา ไพศรี และอรจิต ชัชวาลย์. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยจูงใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก บ้านผาฆ้อง ตําบลห้วยส้ม อําเภอภูกระดึง จังหวัดเลย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(2) , 69-85.

จิติมา เสือทอง และจิตสถา ศิริณภัค. (2564). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อกราฟิกสําหรับสินค้าที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดระนอง. วารสารดีไซน์เอคโค, 2(2), 46-53.

ชัชวาลย์ รัตนพันธุ์. (2561). การนำศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มาสร้างแนวความคิดในการออกแบบของที่ระลึก. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 18(1), 119-136.

ณัฐฐิณีภรณ์ ปิงแก้ว, ชมพูนุช จิตติถาวร, ชวลีย์ ณ ถลาง และกาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์. (2563). พฤติกรรม ประสบการณ์ และความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 51-77.

นวรัตน์ บุญภิละ และยุทธ์ชัย โคสาดี. (2562). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์มุกประดับเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกกรณี : บ้านหนองลาด ตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(ฉบับพิเศษ), 51-65.

เบญจพร เชื้อผึ้ง, ณัฐพล ประดิษฐผลเลิศ, รัชต วรุณสุขะศิริ และสันติธร ภูริภักดี. (2561). แนวทางการจัดการการบริการของโรงแรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยที่มาพักแรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสารสนเทศ, 17(2), 71-84.

ปาริชาติ รัตนพล. (2555). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 7(1), 1-9.

พิเนต ตันศิริ และพรนภา ศรีแก้ว. (2564). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยพฤติกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(1), 285-294.

วุฒิชัย วิถาทานัง. (2559). การศึกษาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสานประเภทผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของตกแต่งและเครื่องเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(3), 107-119.

สํานักงานสถิติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2566). รายงานสถิติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2566. Anyflip. https://anyflip.com/cikge/rrgb

สิริชนก อินทะสุวรรณ์ และอรณิช สาครินทร์. (2562). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ระลึกของนักท่องเที่ยวในเขตย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 1(2), 79-86.

Littrell, M. A., Baizerman, S., Kean, R., Gahring, S., Niemeyer, S., Reilly. R., & Stout, J. A. (1994). Souvenirs and Tourism Styles. Journal of Tourism Research. 33(1), 3-11.

Mudtayomburut, W. (2011). Development of tourism route for aging tourists case study the Electricity Generating Authority of Lampang Province. University of Phayao.